สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

รู้จักโรงเรียน

สาขาวิชาเทคนิคเครื่องกล

1. สาขางานเทคนิคยานยนต์ (ระบบปกติ/ระบบทวิภาคี) (Mechanical Power Technology) และ 2. สาขางานเทคนิคซ่อมตัวถังและสีรถยนต์ (ระบบทวิภาคี) (Automotive Body and Painting Technology)

สามารถปฏิบัติงานระดับช่างเทคนิค ผู้ควบคุมงานผู้ช่วยวิศวกร หรือประกอบอาชีพส่วนตัว มีความสามารถทางด้านทดสอบการทำงานเครื่องยนต์ ทดสอบคุณสมบัติของน้ำมันเชื้อเพลิง วัสดุหล่อลื่นและของไหลบริการระบบส่งกำลังและระบบช่วงล่างยานยนต์ บริการระบบไฟฟ้าและสิ่งอำนวยความสะดวกของยานยนต์ดูแลรักษาเครื่องยนต์ดีเซลอุตสาหกรรม ดูแลรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอุตสาหกรรม ควบคุมเครื่องจักรในงานอุตสาหกรรมยานยนต์และสามารถศึกษาต่อในระดับสูงต่อไปได้

สาขาวิชาไฟฟ้า Power Electrics

สาขางานไฟฟ้ากำลัง (ระบบปกติ/ระบบทวิภาคี) สามารถปฏิบัติงานระดับช่างเทคนิค ผู้ควบคุม งานผู้ช่วยวิศวกร หรือประกอบอาชีพส่วนตัวมีความสามารถทางด้านวิเคราะห์วงจรไฟฟ้าทดสอบเครื่องกลไฟฟ้า งานควบคุมไฟฟ้า ออกแบบและติดตั้งไฟฟ้า ซ่อมสร้างอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ควบคุมอุปกรณ์ขับเคลื่อนด้วยระบบนิวเมติกส์ และไฮดรอลิก ระบบควบคุมอัตโนมัติ (PLC) ติดตั้งและดูแลรักษาระบบไฟฟ้าในงานอุตสาหกรรม และสามารถศึกษาต่อในระดับสูงต่อไปได้

สาขาวิชาเทคนิคการผลิต Production Techniques

สาขางานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ (ระบบทวิภาคี) (Automotive Parts Production) สามารถปฏิบัติงานระดับช่างเทคนิค ผู้ควบคุมงานผู้ช่วยวิศวกร มีความสามารถทางด้านอ่านแบบเทคนิคการผลิต วัดและตรวจสอบขนาดชิ้นงานการผลิต ควบคุมอุปกรณ์ขับเคลื่อน (CNC) ในงานอุตสาหกรรมและระบบควบคุมอัตโนมัติ (PLC)ระบบนิวเมติกส์ และ ไฮดรอลิก และสามารถศึกษาต่อในระดับสูงต่อไปได้

สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ Industrial Electronics

สาขางานอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม (ระบบปกติ/ระบบทวิภาคี) สามารถปฏิบัติงานระดับช่างเทคนิค ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยวิศวกร หรือประกอบอาชีพส่วนตัว มีความสามารถทางด้านงานติดตั้งทดสอบวิเคราะห์ อุปกรณ์และวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือวัดประกอบติดตั้ง ทดสอบและบำรุงรักษาระบบเครือข่าย ระบบโทรคมนาคมติดตั้ง ควบคุม บำรุงรักษา ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในงานอุตสาหกรรม และสามารถศึกษาต่อในระดับสูง ต่อไปได้

สาขาวิชาเมคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ Mechatronics and Robotics

สาขางานเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ (ระบบทวิภาคี/ระบบทวิวุฒิ) สามารถปฏิบัติงานระดับช่างเทคนิค เป็นผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยวิศวกร หรือประกอบอาชีพส่วนตัวมีความสามารถทางด้านการติดตั้งทดสอบ วิเคราะห์ และซ่อมบำรุงระบบเครื่องจักรอัตโนมัติ และระบบหุ่นยนต์อุตสาหกรรมและสามารถศึกษาต่อในระดับสูงต่อไปได้

หลักสูตรที่เปิดสอน

สาขาวิชาเทคนิคการผลิต

Production Techniques

สาขางานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ Automotive Parts Production

สามารถปฏิบัติงานระดับช่างเทคนิค ผู้ควบคุมงานผู้ช่วยวิศวกร มีความสามารถทางด้านอ่านแบบเทคนิคการผลิต การวัด และตรวจสอบขนาดชิ้นงานการผลิต ควบคุมอุปกรณ์ขับเคลื่อน (CNC) ในงานอุตสาหกรรมและระบบควบคุมอัตโนมัติ (PLC) ระบบนิวเมติกส์และไฮดรอลิก และสามารถศึกษาต่อในระดับสูงต่อไปได้

ศึกษาหลักการและกระบวนการทำงานในกลุ่มงานพื้นฐานด้านอุตสาหกรรมการผลิต เพื่อให้สามารถสร้างสรรค์ แก้ปัญหาและนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้งาน โดยใช้โปรแกรมควบคุมแบบอัตโนมัติในการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิต เครื่องมือกล แม่พิมพ์โลหะ แม่พิมพ์พลาสติก และชิ้นส่วนยานยนต์ รวมทั้งตรวจซ่อมและบำรุงรักษาอุปกรณ์ เครื่องมือกล แม่พิมพ์โลหะ แม่พิมพ์พลาสติก และชิ้นส่วนยานยนต์ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานด้านช่างเทคนิค การผลิตในสถานประกอบการ และประกอบอาชีพอิสระ รวมทั้งการใช้ความรู้และทักษะเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นได้

สาขาวิชาไฟฟ้า

Power Electrics

สาขางานไฟฟ้ากำลัง Power Electrics

การใช้ชีวิตในปัจจุบันอุปกรณ์ไฟฟ้าถือเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินชีวิต ตั้งแต่ตื่นจนถึงเข้านอนจะต้องมีการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งสิ้น เช่น เครื่องปรับอากาศ ปั๊มน้ำ พัดลม กาต้มน้ำ หม้อหุงเข้า นอกจากนั้นการขับเคลื่อนงานในด้านต่างๆ ล้วนแล้วต้องใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งสิ้น ดังนั้นสาขาวิชาไฟฟ้ากำลังจึงเป็นสาขาที่มีความสำคัญ และมีความต้องการในทุกภาคส่วนของโลกอาชีพในปัจจุบัน

สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์

Electronics

สาขางานอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม Industrial Electronics

การใช้ชีวิตในปัจจุบัน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้ามามีบทบาทกับการดำเนินชีวิตประจำวัน อุปกรณ์ที่ใช้อำนวยความสะดวกล้วนแต่ใช้เทคโนโลยีที่มีวงจรอิเล็กทรอนิกส์ในการควบคุม และเป็นส่วนประกอบแทบทั้งสิ้น เช่น โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ วิทยุสื่อสาร คอมพิวเตอร์ ระบบเซนเซอร์เพื่อควบคุมการทำงานแบบอัตโนมัติ จึงถือได้ว่างานอิเล็กทรอนิกส์เป็นงานที่มีความสำคัญ และมีความต้องการอย่างมากในวิชาชีพปัจจุบัน

สาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์

Mechatronics and Robotics

สาขางานเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ Mechatronics and Robotics

ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ภาคอุตสาหกรรมการผลิต มุ่งเน้นการนำเอาเทคโนโลยีหุ่นยนต์อัตโนมัติเข้ามาทำงานแทนมนุษย์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมหนักหรืออุตสาหกรรมอาหาร นอกจากนั้นในชีวิตประจำวันได้มีการนำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้งาน เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น สาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ จึงเป็นสาขาวิชาที่ตอบโจทย์กับสถานการณ์ในยุคสมัยนี้อย่างยิ่ง

สาขาวิชาเทคนิคเครื่องกล

Mechanical Power Technology

สาขางานเทคนิคยานยนต์ Mechanical Power Technology
สาขางานเทคนิคซ่อมตัวถังและสีรถยนต์ Automotive Body and Painting Technology

เมื่อสำเร็จการศึกษาจากสาขาวิชาช่างยนต์จะสามารถตัดสินใจ วางแผน และแก้ไขปัญหา ในงานอาชีพด้านยานยนต์ที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมในบางเรื่อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะทางวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการแก้ปัญหาและการปฏิบัติงานด้านยานยนต์ ให้คำแนะนำพื้นฐานที่ต้องใช้การตัดสินใจและการปฏิบัติงานแก่ผู้ร่วมงาน ซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องยนต์เล็กแก๊สโซลีนและดีเซลตามคู่มือ ตรวจสอบข้อขัดข้อง บำรุงรักษาระบบฉีดเชื้อเพลิงด้วยอิเล็กทรอนิกส์ตามคู่มือ บริการระบบปรับอากาศรถยนต์ สามารถซ่อมและบำรุงรักษารถยนต์ตามคู่มือ

ข่าวสารกิจกรรม

บุคลากร

ดร. นวลอนงค์ ธรรมเจริญ
ผู้อำนวยการโรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ
ดร. นวลอนงค์ ธรรมเจริญ
ผู้อำนวยการโรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ
สุรัตน์ จั่นแย้ม
ที่ปรึกษา
อาจารย์ จุฬาลักษณ์ คุปตรัตน์
รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
อาจารย์ ชุติมาวรรณ แก้วจำนงค์
รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักเรียน นักศึกษา
อาจารย์ จีระ สังเกตกิจ
ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร

ติดต่อ ประเภทวิชาอุตสาหกรรม (ปวส.)

ที่อยู่:

อาคาร 611/612 สำนักพระราชวัง สนามเสือป่า ถนนศรีอยุธยา เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300

โทรศัพท์:

02-280-0551

โทรสาร:

02-282-1396

อีเมล:

saraban@cdti.ac.th