การนำระบบสมองกลฝังตัวมาประยุกต์ใช้ทุกวงการ และมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเราอย่างกว้างขวาง เช่น ยานยนต์ สมาร์ทโฟน เครื่องมือวัดทางการแพทย์ หม้อหุงข้าว เครื่องซักผ้า เตาไมโครเวฟ เครื่องเล่นเกม เป็นต้น ซึ่งนับเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจจากภาคอุตสาหกรรม เพื่อนำมาพัฒนาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ให้ก้าวลํ้ามีคุณภาพมากขึ้น ในอนาคตอันใกล้ประเทศไทยจะก้าวเป็นศูนย์กลางของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เราจำเป็นที่จะต้องพัฒนาประเทศด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆ ดังเช่น ระบบสมองกลฝังตัว ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ สร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์และอุตสาหกรรมของไทย เสริมสร้างคุณภาพชีวิตประชาชน มีเศรษฐกิจที่ยั่งยืน และลดการนำเข้า โดยจะต้องใช้เทคโนโลยีแบบไมโครคอนโทรลเลอร์มิเตอร์อัจฉริยะ (Smart Meter) การสื่อสารข้อมูลแบบเครือข่ายไร้สาย Zigbee การถ่ายโอนข้อมูลแบบ NFC และการควบคุมผ่าน สมาร์ทโฟนในการพัฒนาระบบได้ต่อไป
เป็นสาขาที่ได้เรียนรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับเทคโนโลยีในอนาคต อุปกรณ์ในสาขาได้รับการสนับสนุนจากสถานประกอบการทางด้านเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ระบบสมองกลฝังตัวชั้นนำของประเทศ จึงได้ศึกษาเรียนรู้กับอุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัย และได้เข้าฝึกทักษะวิชาชีพจากสถานประกอบการที่มีคุณภาพ และสามารถสร้างโอกาสในการมีอาชีพกับหน่วยงานที่มีมาตรฐาน
โทร : 0 2280 0551 ต่อ 3067
โทร : 0 2280 0551 ต่อ 3057
เรียนรู้และฝึกฝนทักษะด้านอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้า การออกแบบโครงสร้างและใช้เครื่องมือกลสร้างชิ้นส่วนและอุปกรณ์ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อควบคุมระบบสมองกลฝังตัว การใช้งานแอปพลิเคชันเพื่อควบคุมสั่งการผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารควบคุมแบบไร้สาย การสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่ควบคุมด้วยระบบสมองกลฝังตัว ด้วยกระบวนการทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยเน้นให้มีคุณธรรมในวิชาชีพ ใส่ใจอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และสามารถศึกษาต่อในระดับสูงต่อไปได้
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
สาขาวิชาเทคโนโลยีระบบสมองกลฝังตัว Embedded System Course
เมื่อจบการศึกษาสามารถเข้าทำงานในสถานประกอบการ หรือองค์กรของรัฐ ในสาขาวิชาระบบสมองกลฝังตัว ซึ่งการเรียนจะเน้นตลาดด้านอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ ซึ่งจะมีมาตรฐานสากลเป็นตัวกำหนดรายละเอียดในแต่ละระดับ ซึ่งกลุ่มประเภทอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องในงานอัตโนมัติจะแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ
1. Process Control เป็นอุตสาหกรรมที่วัตถุดิบจะมีการไหลอย่างต่อเนื่องในระบบและจะมีการทำงานตลอดเวลา อุตสาหกรรมเหล่านี้ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางระบบสมองกลฝังตัว โรงกลั่นน้ำมัน โรงแยกก๊าซ โรงงานปิโตรเคมี โรงงานผลิตปูนซีเมนต์ โรงไฟฟ้า เป็นต้น
2. Manufacturing Process เป็นอุตสาหกรรมที่เน้นไปในลักษณะการประกอบชิ้นส่วน ซึ่งในขั้นตอนการผลิตนั้นอาจจะไม่ต่อเนื่องหรือแยกส่วนกันทำได้ เช่น วิศวกรสมองกลฝังตัว วิศวกรซอฟต์แวร์ในโรงงานประกอบรถยนต์ โรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น
3. Batch Process เป็นอุตสาหกรรมกึ่ง Process Control และ Manufacturing Process โดยที่รูปแบบการผลิตสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามผลิตภัณฑ์ เช่น นักพัฒนาซอฟต์แวร์ ผู้ช่วยนักวิจัยพัฒนาอุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น
สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
อาคาร ๖๐ พรรษา ราชสุดาสมภพ
สำนักพระราชวัง สนามเสือป่า
ถนนศรีอยุธยา เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
Chitralada Technology Institute
Rajasudasambhava 60, Bureau of the Royal
Household Sanam Sueapa, Si Ayutthaya Rd., Dusit, Bangkok 10300
โทรศัพท์ 0-2280-0551 ต่อ 3200
โทรศัพท์ 0-2121-3700 ต่อ 1000
โทรสาร 0-2280-0552
ทุกวัน จันทร์-ศุกร์
8.30 น. – 16.30 น.
(ยกเว้น วันหยุดนักขัตฤกษ์)
saraban@cdti.ac.th
2882414