สาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมบำรุงรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เครื่องยนต์ต่างๆที่นิยมใช้และอื่นๆ สาขาช่างยนต์มีการจัดการเรียนการสอนเน้นการฝึกทักษะ ประสบการณ์ และการทดลองสิ่งใหม่ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สาขาช่างยนต์ เช่น ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเครื่องยนต์ต่างๆ การใช้อุปกรณ์ในงานช่าง วัสดุเชื้อเพลิง การถอดประกอบเครื่องยนต์ การคำนวณต่างๆ ที่จำเป็นต่องานช่าง วิชากลศาสตร์ วิชาเทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นต้น การเรียนสาขา ช่างยนต์เป็นสาขาวิชาที่เน้นการฝึกปฏิบัติกับทฤษฎีควบคู่กัน และมีการปรับเปลี่ยนเทคนิคการสอนและฝึกปฏิบัติตามเทคโนโลยีสมัยใหม่ ให้สอดคล้องกับการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์
เป็นสาขาที่ได้เรียนรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัย มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับเทคโนโลยีในอนาคต อุปกรณ์ในสาขาได้รับการสนับสนุนจากสถานประกอบการทางด้านยานยนต์ ผู้มีความรู้ความชำนาญมีทักษะในเรื่องของเครื่องยนต์กลไกต่างๆ จัดเป็นอีกหนึ่งสาขาวิชาที่ชายหนุ่มหลายคนต้องการจะเข้าไปศึกษาต่อ อันเนื่องมาจากนิสัยโดยพื้นฐานของเด็กผู้ชายส่วนมากมักจะชอบการสร้าง การดัดแปลง โดยเฉพาะในเรื่องของเครื่องยนต์กลไก บวกกับความหลงใหลในเรื่องของรถยนต์ รวมทั้งมีตลาดแรงงานรองรับค่อนข้างสูงจึงทำให้ “ช่างยนต์” เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆ และด้วยทุกวันนี้แต่ละครอบครัวมีรถอย่างต่ำบ้านละ 1 คัน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมีมากกว่า 1 คัน ซึ่งการใช้รถจะมีระยะเวลาบำรุงรักษาทุกๆ รอบ เช่น 3 เดือนครั้ง หรือ 6 เดือนครั้ง หรือตามสภาพรถ โอกาสในความเจริญก้าวหน้าของช่างยนต์จึงมีอัตราการเจริญเติบโตสูงมาก และสามารถประกอบส่วนตัวได้
โทร : 0 2280 0551 ต่อ 3067
โทร : 0 2280 0551 ต่อ 3057
เรียนรู้และฝึกฝนทักษะด้านงานยานยนต์ การอ่านแบบ เขียนแบบยานยนต์ การบริการตรวจซ่อมเครื่องยนต์ ซ่อมบำรุงรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ระบบส่งกำลังรถยนต์ เปลี่ยนอุปกรณ์ภายในรถหรือเครื่องยนต์ เครื่องล่างรถยนต์และไฟฟ้ารถยนต์ เชื้อเพลิงและวัสดุหล่อลื่น ระบบปรับอากาศรถยนต์ นิวเมติกส์ไฮดรอลิกเบื้องต้น เคาะพ่นสี แก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวของกับเครื่องยนต์ เป็นต้น โดยเน้นให้มีคุณธรรมในวิชาชีพ ใส่ใจอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และสามารถศึกษาต่อระดับสูงต่อไปได้
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
เมื่อจบการศึกษาสามารถเข้าทำงานในสถานประกอบการ หรือองค์กรของรัฐในหลายด้าน เช่น
สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
อาคาร ๖๐ พรรษา ราชสุดาสมภพ
สำนักพระราชวัง สนามเสือป่า
ถนนศรีอยุธยา เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
Chitralada Technology Institute
Rajasudasambhava 60, Bureau of the Royal
Household Sanam Sueapa, Si Ayutthaya Rd., Dusit, Bangkok 10300
โทรศัพท์ 0-2280-0551 ต่อ 3200
โทรศัพท์ 0-2121-3700 ต่อ 1000
โทรสาร 0-2280-0552
ทุกวัน จันทร์-ศุกร์
8.30 น. – 16.30 น.
(ยกเว้น วันหยุดนักขัตฤกษ์)
saraban@cdti.ac.th
2562184