สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
Search
Close this search box.
Search
Close this search box.
หลักสูตร / สาขา

สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง (ปวช.)

สาขางานไฟฟ้ากำลัง
Power Electrics

สาขาที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้า เช่น การเดินสายไฟฟ้าภายในบ้าน ภายในอากาศ การติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ การตรวจเช็คระบบไฟฟ้า การวงระบบวงจรไฟฟ้า แก้ไขปัญหาต่างๆเกี่ยวกับไฟฟ้า เป็นต้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสาขาช่างไฟฟ้า ให้ความสำคัญกับการสร้างความรู้พื้นฐานด้านระบบไฟฟ้า การติดตั้ง การเดินสายไฟฟ้า การต่อวงจรไฟฟ้าในลักษณะต่างๆ การตรวจเช็คระบบไฟฟ้า การตรวจซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น สาขาวิชาช่างไฟฟ้า ให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติควบคู่กัน

จุดเด่นของสาขา

เป็นสาขาที่ได้เรียนรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัย มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับเทคโนโลยีในอนาคต อุปกรณ์ในสาขาได้รับการสนับสนุนจากสถานประกอบการทางด้านเทคโนโลยีไฟฟ้าชั้นนำของประเทศ

ทุกบ้านมีไฟฟ้าใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต การใช้ไฟฟ้า การแก้ไขปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับไฟฟ้าจำเป็นต้องอาศัยผู้มีความชำนาญเฉพาะทาง การเรียนในสาขานี้ได้ศึกษาเรียนรู้กับอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆเกี่ยวกับไฟฟ้าที่ทันสมัย และได้เข้าฝึกทักษะวิชาชีพจากสถานประกอบการที่มีคุณภาพ และสามารถสร้างโอกาสในการมีอาชีพกับหน่วยงานที่มีมาตรฐาน

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

  • ระดับ ปวช. รับนักเรียนที่เรียนจบ ระดับชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3
  • เกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50

โครงสร้างหลักสูตร

สอบถามรายละเอียดหลักสูตร

สาขานี้เรียนอะไร

เรียนรู้และฝึกฝนพัฒนาด้านวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง วิเคราะห์วงจรไฟฟ้าโดยจะเป็นการคำนวณหาค่ากระแสไฟฟ้า 2 เฟส และ 3 เฟส ศึกษากฎของโอห์ม กำลังไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้า วงจรความต้านทานแบบต่างๆ วงจรแบ่งกระแสไฟฟ้า วงจรแบ่งแรงดันไฟฟ้า การแปลงวงจรความต้านทานเดลต้า-สตาร์ ดีเทอร์มิแนนต์ เซลล์ไฟฟ้า กฎของเคอร์ชอฟฟ์ วงจรบริดจ์ เมชเคอร์เรนท์ การติดตั้งไฟฟ้าในอาคารและโรงงาน การควบคุมเครื่องกลไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า เครื่องมือวัด โปรแกรมและการควบคุมเครื่องกลไฟฟ้า นิวเมติกส์ไฮดรอลิกเบื้องต้น เครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม โดยเน้นให้มีคุณธรรมในวิชาชีพ ใส่ใจอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และสามารถศึกษาต่อในระดับสูงต่อไปได้

จบแล้วมีงานทำ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
เมื่อจบการศึกษาสามารถเข้าทำงานในสถานประกอบการ หรือองค์กรของรัฐในหลายด้าน เช่น

  • งานช่างไฟฟ้าที่เกี่ยวของกับการเดินสายไฟฟ้าภายในบ้าน ภายในอากาศ การติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ การตรวจเช็คระบบไฟฟ้า การวางระบบวงจรไฟฟ้า แก้ไขปัญหาเกี่ยวกับไฟฟ้าต่างๆ
  • ช่างซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า
  • ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตกับผู้ประกอบการระดับมาตรฐาน ทำงานเกี่ยวกับ ผู้ช่วยวิศวกรไฟฟ้า หรือพนักงานตรวจซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าประจำบริษัท
  • ช่างติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ การดูแล การซ่อมบำรุง การติดตั้งไฟฟ้าในอาคารและโรงงานติดตั้งเครื่องมือ เครื่องจักรอัตโนมัติ
  • บริหารงานหน่วยงานด้านช่างเทคนิคในองค์กรของรัฐและเอกชนที่มีมาตรฐาน เช่น พนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิต หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นต้น
  • งานด้านวิจัยพัฒนา ผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อรองรับความต้องการของโลกในอนาคต
  • เจ้าของกิจการจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าและติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้า
  • สามารถศึกษาต่อในระดับการศึกษาที่สูงขึ้นไปได้