สาขางานเทคโนโลยีเกษตรนวัต (ระบบทวิภาคี)
ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะทั้งด้านภาษา การสื่อสาร และเทคโนโลยีด้านเกษตรกรรมสมัยใหม่ สามารถประดิษฐ์คิดค้น ประยุกต์นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ใช้ในงานเกษตรให้เหมาะสม มีหลักการบริหารจัดการและการประกอบธุรกิจการเกษตรให้เกิดความคุ้มค่า
สาขาวิชาเทคโนโลยีเกษตรนวัต เป็นการนำความรู้ที่ได้ศึกษาทั้งด้านพืช ปศุสัตว์ ประมง นวัตกรรมและเทคโนโลยีการบริหารจัดการไปฝึกอาชีพ ในสถานประกอบการจริง โดยมีระยะเวลาประมาณ 2 ภาคเรียน ตามความต้องการและความถนัดของผู้เรียน อีกทั้งเป็นพื้นฐานที่ผู้เรียนจะนำไปประกอบอาชีพในอนาคตต่อไป ซึ่งสถานประกอบการเหล่านั้นจะเป็นสถานประกอบการด้านการเกษตร
ผู้สำเร็จการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาเกษตรนวัต จะต้องสำเร็จการศึกษาในระดับ ปวช. สาขาเกษตรนวัต โดยจะต้องศึกษารายวิชาของหมวดวิชาต่างๆ รวมไม่น้อยกว่า 83 หน่วยกิต ดังโครงสร้างต่อไปนี้
1.1 กลุ่มวิชาภาษาไทย ( ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต )
1.2 กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ ( ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต )
1.3 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ ( ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต )
1.4 กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ ( ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต )
1.5 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ ( ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต )
1.6 กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ ( ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต )
2.1 กลุ่มสมรรถนะวิชาชีพพื้นฐาน ( 15 หน่วยกิต )
2.2 กลุ่มสมรรถนะวิชาชีพเฉพาะ ( 21 หน่วยกิต )
2.3 กลุ่มสมรรถนะวิชาชีพเลือก ( ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต )
2.4 ฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพ ( 4 หน่วยกิต )
2.5 โครงงานพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพ ( 4 หน่วยกิต )
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาหรือสาขาวิชาอื่น หรือมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า ที่ไม่มีพื้นฐานวิชาชีพ จะต้องเรียนรายวิชาปรับพื้นฐานวิชาชีพ ต่อไปนี้
รหัส | ชื่อวิชา | น(ท–ปขน) |
4250-0001 | หลักการเกษตรนวัต | 2(2-0-0) |
4250-0002 | หลักการเพาะปลูกพืช | 2(1-3-0) |
4250-0003 | หลักการเลี้ยงสัตว์ | 2(1-3-0) |
4250-0004 | ช่างเกษตรเบื้องต้น | 2(1-3-0) |
4250-0005 | อุตสาหกรรมเกษตรเบื้องต้น | 2(2-0-0) |
4250-0006 | ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ | 2(1-2-0) |
4250-0007 | กฎหมายในงานอาชีพเกษตร | 1(1-0-0) |
การยกเว้นการเรียนรายวิชาปรับพื้นฐานวิชาชีพดังกล่าวข้างต้น สามารถทำได้โดยการเทียบโอนผลการเรียนรู้ ตามข้อบังคับสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พ.ศ.2563
ศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญ หลักการเกษตรนวัต กระบวนการปฏิบัติงานทางการเกษตร เรียนรู้การเลือกใช้เทคโนโลยี เลือกใช้พลังงานทดแทน พลังงานหมุนเวียนและพลังงานทางชีวมวลทางการเกษตร หลักการเพาะปลูกพืช ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับความสำคัญ ประเภท และชนิดของพืช ปัจจัยและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืช การวางแผนการปลูก การดูแลรักษา การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว หลักการเลี้ยงสัตว์ศึกษาทฤษฎีและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการเลี้ยงสัตว์บกและสัตว์น้ำ ปัจจัยพื้นฐานการเลี้ยงสัตว์ การเพาะพันธุ์สัตว์ ประเภทและชนิดพันธุ์สัตว์ โรงเรือนและอุปกรณ์ อาหารสัตว์ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิเคราะห์ วางแผนการดูแล การรักษาโรคและการสุขาภิบาลสัตว์ การจัดการผลผลิต การแปรรูปผลผลิต การประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ช่างเกษตรเบื้องต้น ในกระบวนการทางการเกษตร เรียนรู้อุตสาหกรรมเกษตรเบื้องต้น เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตพืชและการผลิตสัตว์อย่างยั่งยืน ศึกษากฎหมายในงานอาชีพเกษตร โดยคำนึงถึงอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การทำธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ โดยเน้นคุณธรรมในวิชาชีพและสามารถศึกษาต่อในระดับสูงต่อไปได้
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
ผู้เรียนในสาขาเกษตรนวัต เมื่อเรียนจบแล้วจะมีงานทำทันที เพราะผู้เรียนได้ไปฝึกอาชีพกับสถานประกอบการ เป็นระยะเวลา 2 ภาคเรียน ได้เรียนรู้การใช้เครื่องมือ และเทคโนโลยีของสถานประกอบการแต่ละแห่งเป็นอย่างดีมาแล้ว ดังนั้นสถานประกอบการส่วนใหญ่ มักจะไม่ปล่อยให้ผู้เรียนที่สถานประกอบการได้ฝึกมา ไปทำงานกับสถานประกอบการอื่น
ดังนั้น ผู้เรียนที่เรียน จบ ปวส. สาขาวิชาเทคโนโลยีเกษตรนวัต จะประกอบอาชีพต่างๆ ได้ดังนี้
สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
อาคาร ๖๐ พรรษา ราชสุดาสมภพ
สำนักพระราชวัง สนามเสือป่า
ถนนศรีอยุธยา เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
Chitralada Technology Institute
Rajasudasambhava 60, Bureau of the Royal
Household Sanam Sueapa, Si Ayutthaya Rd., Dusit, Bangkok 10300
โทรศัพท์ 0-2280-0551 ต่อ 3200
โทรศัพท์ 0-2121-3700 ต่อ 1000
โทรสาร 0-2280-0552
ทุกวัน จันทร์-ศุกร์
8.30 น. – 16.30 น.
(ยกเว้น วันหยุดนักขัตฤกษ์)
saraban@cdti.ac.th
2562951