สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
Search
Close this search box.
Search
Close this search box.
หลักสูตร / สาขา

สาขาวิชาช่างกลโรงงาน (ปวช.)

สาขางานเครื่องมือกล
Machanics

เป็นหลักสูตรเน้นฝึกทักษะด้านการผลิตและซ่อมบำรุงเป็นหลัก ด้วยเครื่องจักรกลที่หลากหลาย เกี่ยวข้องกับเครื่องกลภายในโรงงาน หรือเครื่องยนต์ที่มีขนาดใหญ่ไม่ว่าจะเป็นเครื่องกลึง, เครื่องกัด, เครื่องไส, เครื่องเจียระไน เป็นต้น ทำการผลิตวัสดุทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นโลหะ อโลหะ พลาสติก หรือไม้ ยกตัวอย่างรถยนต์หนึ่งคัน เมื่อนำมาชำแหละเป็นอะไหล่ชิ้นส่วนต่างๆ เพลาข้อเหวี่ยง ลูกสูบ เฟือง สลัก แหวน ฯลฯ จะเห็นได้ว่า ช่างกลโรงงานทำหน้าที่การผลิตแทบทั้งสิ้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสาขาช่างกลโรงงาน ให้ความสำคัญการฝึกปฏิบัติควบคู่กับทฤษฎี โดยเน้นการให้ความรู้และทักษะต่างๆ เช่น ความรู้พื้นฐานเรื่องโครงสร้างเครื่องยนต์กลไก ความรู้เรื่องระบบการทำงาน และการดูแลรักษา การซ่อมบำรุง เป็นต้น

จุดเด่นของสาขา

เป็นสาขาที่ได้เรียนรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับเทคโนโลยีในอนาคต อุปกรณ์ในสาขาที่ได้รับการสนับสนุนจากสถานประกอบการทางด้านเครื่องจักรทุกชนิด เพราะฉะนั้นการศึกษาวิชาในเรื่องของช่างกลโรงงาน จึงเรียนในเรื่องที่เกี่ยวกับการสร้างชิ้นส่วน เริ่มตั้งแต่การออกแบบวัสดุศาสตร์ กรรมวิธีการผลิต เครื่องจักรกลที่ใช้ในการผลิตมีหลากหลายประเภทขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิต ถ้าเป็นการขึ้นรูปก็สามารถทำด้วยการตัดขึ้นรูป เช่น เครื่องกลึง, เครื่องกัด, เครื่องเลื่อย เป็นต้น หรือสร้างจากรูปแบบอื่นๆเช่น การหล่อ, การตีขึ้นรูป, การใช้แม่พิมพ์ทั้งแบบโลหะและแบบพลาสติก เป็นต้น จึงได้ศึกษาเรียนรู้กับอุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัย และได้เข้าฝึกทักษะวิชาชีพ จากสถานประกอบการที่มีคุณภาพ และสามารถสร้างโอกาสในการมีอาชีพกับหน่วยงานที่มีมาตรฐาน

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

  • ระดับ ปวช. รับนักเรียนที่เรียนจบ ระดับชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 เกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50

โครงสร้างหลักสูตร

สอบถามรายละเอียดหลักสูตร

สาขานี้เรียนอะไร

เรียนรู้และฝึกฝนทักษะด้านวิชาชีพ เครื่องมือกล เขียนแบบเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์ งานเครื่องมือกลซีเอ็นซี (CNC) การอบชุบโลหะ งานหล่อโลหะ การซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล งานวัดละเอียด นิวเมติกส์และไฮดรอลิกเบื้องต้น ให้ความสำคัญในการฝึกปฏิบัติควบคู่ไปพร้อมกับทฤษฎี โดยมุ่งเน้นการให้ความรู้รวมทั้งทักษะต่างๆ เช่น ความรู้พื้นฐานเรื่องเครื่องยนต์กลไก, ความรู้เรื่องระบบการทำงาน, การดูแลรักษา, การซ่อมบำรุง โดยเน้นให้มีคุณธรรมในวิชาชีพ ใส่ใจอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และสามารถศึกษาต่อในระดับสูงต่อไปได้

จบแล้วมีงานทำ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
เมื่อจบการศึกษาสามารถเข้าทำงานในสถานประกอบการ หรือ องค์กรของรัฐในหลายด้าน เช่น

  • เจ้าหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของเครื่องกลในโรงงาน
  • เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์เครื่องกลต่างๆ
  • ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตกับผู้ประกอบการระดับมาตรฐาน ทำงานเกี่ยวกับ ผู้ช่วยวิศวกรโรงงาน หรือพนักงานตรวจซ่อมเครื่องกลประจำโรงงาน
  • ช่างติดตั้งอุปกรณ์เครื่องกลต่างๆเกี่ยวกับการดูแลซ่อมบำรุง การติดตั้งเครื่องจักรในอาคารและโรงงาน ติดตั้งเครื่องมือเครื่องจักรอัตโนมัติ
  • บริหารงานหน่วยงานด้านช่างเทคนิคในองค์กรของรัฐและเอกชนที่มีมาตรฐาน เช่น พนักงานฝ่ายผลิต หรือเป็นผู้ประกอบกิจการในภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น
  • เจ้าหน้าที่ควบคุมการผลิต
  • งานด้านวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อรองรับความต้องการของโลกในอนาคต
  • สามารถศึกษาต่อในระดับการศึกษาที่สูงขึ้นไปได้