สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

ประเภทวิชาอุตสาหกรรมบันเทิงและดนตรี (ปวช.)

รู้จักโรงเรียน

สาขาวิชาการสร้างเครื่องดนตรีไทย Thai Musical Instrument Craftsmanship
สาขางานการสร้างเครื่องดนตรีไทย เรียนรู้และฝึกฝนทักษะด้านการใช้เครื่องมือช่างงานไม้ การถอดแบบ การเขียนแบบภาพร่างเครื่องดนตรี การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปในการเขียนแบบเครื่องดนตรี การเลือกใช้วัสดุในการสร้างชิ้นงาน การสร้างสรรค์และการประยุกต์ใช้เศษวัสดุเหลือใช้ หรือวัสดุทดแทนมาสร้างเครื่องดนตรี การแยกรายการในการกำหนดราคาเครื่องดนตรี การออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยเน้นให้มีคุณธรรมในวิชาชีพ ใส่ใจอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และสามารถศึกษาต่อในระดับสูงต่อไปได้

การเรียนรู้งานวิชาชีพในสถานประกอบการ
ได้รับประสบการณ์จริงในบริษัทอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดนตรีไทยที่มีชื่อเสียง ฝึกทักษะ ขั้นตอน กระบวนการผลิตเครื่องดนตรีไทย จำนวน ๓๒๐ ชั่วโมง (เรียนรู้ในสถานประกอบการในภาคฤดูร้อน)

แนวทางการประกอบอาชีพ
สามารถทำงานระดับช่างเทคนิคด้านแก้ไขซ่อมแซม และการสร้างเครื่องดนตรีไทย รวมถึงทักษะด้านงานช่างไม้ที่สามารถต่อยอดไปในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือบริหารงานหน่วยงานด้านเทคนิคในองค์กรที่มีมาตรฐาน หรือประกอบกิจการในภาคอุตสาหกรรมของตนเองได้

หลักสูตรที่เปิดสอน

สาขาวิชาการสร้างเครื่องดนตรีไทย

Thai Musical Instrument Craftsmanship

สาขางานการสร้างเครื่องดนตรีไทย Thai Musical Instrument Craftsmanship

สาขาวิชาการสร้างเครื่องดนตรีไทย หรือ Thai Instrument Craftsman Course แผนกวิชาอุตสาหกรรมบันเทิงและดนตรี โรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา สถาบันการศึกษาชั้นนำประเทศ ด้านการอนุรักษ์ดนตรีไทยได้จัดการเรียนการสอน สาขาการสร้างเครื่องดนตรีไทยในระดับปวช. ถือเป็นหลักสูตรที่ครอบคลุมทุกด้านทุกแขนงที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมดนตรีไทย

ข่าวสารกิจกรรม

บุคลากร

ดร. นวลอนงค์ ธรรมเจริญ
ผู้อำนวยการโรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ
ดร. นวลอนงค์ ธรรมเจริญ
ผู้อำนวยการโรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ
สุรัตน์ จั่นแย้ม
ที่ปรึกษา
อาจารย์ จุฬาลักษณ์ คุปตรัตน์
รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
อาจารย์ ชุติมาวรรณ แก้วจำนงค์
รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักเรียน นักศึกษา
อาจารย์ จีระ สังเกตกิจ
ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร

ติดต่อ ประเภทวิชาอุตสาหกรรมบันเทิงและดนตรี (ปวช.)

ที่อยู่:

อาคาร 611/612 สำนักพระราชวัง สนามเสือป่า ถนนศรีอยุธยา เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300

โทรศัพท์:

02-280-0551

โทรสาร:

02-282-1396

อีเมล:

saraban@cdti.ac.th