Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

โรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ

Chitralada Vocational School
สาขาวิชา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
สาขาวิชา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

รู้จักโรงเรียน

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริให้โรงเรียนจิตรลดาขยายการศึกษาเพิ่มขึ้นในสายวิชาชีพ  โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ  ให้เปิดโรงเรียนจิตรลดา  ( สายวิชาชีพ )  เมื่อพุทธศักราช  ๒๕๔๗  โดยในช่วงแรกมี  ๓ สาขาวิชา คือ ประเภทพาณิชยกรรม ๒ สาขา ได้แก่  สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ  และสาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก  และประเภทวิชาอุตสาหกรรม  ๑  สาขา  คือสาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ โดยสถานที่เรียนอยู่ที่อาคาร ๖๐๔ และอาคาร ๖๐๕  ในบริเวณสนามเสือป่า  พระราชวังดุสิต  ต่อมาปีพุทธศักราช  ๒๕๕๐  เมื่อนักเรียนสายวิชาชีพรุ่นแรกจบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ขยายการศึกษาทางวิชาชีพให้สูงขึ้นเป็นระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  (ปวส.)  เพิ่มสาขาวิชาประเภทอุตสาหกรรมอีก  ๒  สาขาวิชา  คือ  สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง  และสาขาวิชาเครื่องกล  ในปีการศึกษา  ๒๕๕๓  มีพระราชดำริเพิ่มสาขาวิชาประเภทคหกรรมอีก  ๑  สาขา  คือ  สาขาอาหารและโภชนาการ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในปีการศึกษา ๒๕๕๔ มีพระราชดำริเพิ่มสาขาวิชาประเภทอุตสาหกรรมอีก ๑ สาขา คือ สาขาวิชายานยนต์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในปีการศึกษา ๒๕๖๑ มีพระราชดำริเพิ่มสาขาวิชาประเภทอุตสาหกรรมอีก ๒ สาขา คือ สาขาวิชาการสร้างเครื่องดนตรีไทย สาขาวิชาเทคโนโลยีระบบสมองกลฝังตัว ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และในปีการศึกษา ๒๕๖๒ มีพระราชดำริเพิ่มสาขาวิชาประเภทวิชาเกษตรกรรมอีก ๑ สาขา คือ สาขาวิชาเกษตรนวัต ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ระบบทวิศึกษาร่วมกับโรงเรียนวังจันทร์วิทยา จังหวัดระยอง

นอกจากนี้ยังทรงส่งเสริมให้ระบบการเรียนการสอนสายวิชาชีพ  เน้นมีรูปแบบความร่วมมือระหว่างโรงเรียน – สถานประกอบการ – สถาบันทางเทคโนโลยี ด้วยพระบารมีจึงมีสถานประกอบการหลายแห่งให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างดี  นอกเหนือจากการที่นักเรียน  นักศึกษาได้รับความรู้จากสถานศึกษาแล้ว  ยังได้รับประสบการณ์จากสถานประกอบการโดยตรง  และบางวิชาทางสถาบันทางด้านเทคโนโลยีให้โอกาสนักเรียน  นักศึกษาไปเรียนรู้และใช้เครื่องมือ  เครื่องจักร  เครื่องกลที่ทันสมัยอีกด้วย ทั้งยังมี พระราโชบายเน้นการเรียนภาษาต่างประเทศ โดยพระกรุณา ฯ จ้างครูเจ้าของภาษามาสอนเพื่อให้นักเรียนและนักศึกษา มีความสามารถทางด้านการสื่อสารและการใช้ภาษาได้อย่างถูกต้อง และส่งครูไปอบรมและดูงานต่างประเทศเพื่อนำประสบการณ์มาปรับปรุงระบบการเรียนการสอนทางสายวิชาชีพของไทยให้เป็นสากลอีกด้วย

ตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ จนถึงปัจจุบันในปีการศึกษา ๒๕๕๕ โรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ เปิดสอน ๑๐ สาขา ได้แก่
๑. สาขาวิชาการตลาด
๒. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
๓. สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์
๔. สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง
๕. สาขาวิชาช่างกลโรงงาน
๖. สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ
๗. สาขาวิชาช่างยนต์
๘. สาขาวิชาเทคโนโลยีระบบสมองกลฝังตัว
๙. สาขาวิชาการสร้างเครื่องดนตรีไทย
๑๐. สาขาวิชาเกษตรนวัต (ทวิศึกษา)

หลักสูตรที่เปิดสอน

<span data-metadata=""><span data-buffer="">ข่าวสารกิจกรรม

บุคลากร

ดร. นวลอนงค์ ธรรมเจริญ
ผู้อำนวยการโรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ
ดร. นวลอนงค์ ธรรมเจริญ
ผู้อำนวยการโรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ
สุรัตน์ จั่นแย้ม
ผู้อำนวยการสำนักวิชาเกษตรนวัต
อาจารย์ จุฬาลักษณ์ คุปตรัตน์
รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
อาจารย์ ชุติมาวรรณ แก้วจำนงค์
รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักเรียน นักศึกษา
อาจารย์ จีระ สังเกตกิจ
ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร

ติดต่อ โรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ

ที่อยู่:

อาคาร 611/612 สำนักพระราชวัง สนามเสือป่า ถนนศรีอยุธยา เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300

โทรศัพท์:

02-280-0551

โทรสาร:

02-282-1396

อีเมล:

saraban@cdti.ac.th