สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
Search
Close this search box.
Search
Close this search box.
Play Video

เครื่องตรวจวัดประสิทธิภาพมอเตอร์เหนี่ยวนำ แบบสามเฟส แบบพกพา

สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา CDTI


วัตถุประสงค์ / เป้าหมาย
– เพื่อนำเสนอกระบวนการและเครื่องมือเพื่อการประเมินประสิทธิภาพมอเตอร์เหนี่ยวนำแบบสามเฟสโดยไม่จำเป็นจะต้องปลดโหลดระหว่างการตรวจประเมิน
– เพื่อพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับคำนวณหาประสิทธิภาพด้วยวิธีการวงจรสมมูล (Equivalent Circuit) โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์

เนื้อหาโดยสรุป / วิธีการ / ข้อค้นพบ / ผลการศึกษา
          การประเมินประสิทธิภาพมอเตอร์เหนี่ยวนำแบบสามเฟสแบบไม่ปลดโหลดสำหรับการวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุนมาตรการอนุรักษ์พลังงาน เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอกระบวนการและเครื่องมือเพื่อการประเมินประสิทธิภาพมอเตอร์เหนี่ยวนำแบบสามเฟสโดยไม่จำเป็นจะต้องปลดโหลดระหว่างการตรวจประเมิน สามารถตรวจได้ขณะเครื่องจักรกำลังทำการปกติ ซึ่งจะใช้ผลของการตรวจประเมินเพื่อทำการวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุนมาตรการอนุรักษ์พลังงาน ในส่วนของการดำเนินโครงการแบ่งการดำเนินการออกเป็นสองส่วนคือ การพัฒนากระบวนการวัดหรือการกระบวนการประเมินประสิทธิภาพมอเตอร์ที่สามารถดำเนินการวัดได้ขณะมอเตอร์กำลังทำงานโดยไม่ต้องหยุดการผลิต ซึ่งได้ทำการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับคำนวณหาประสิทธิภาพด้วยวิธีการวงจรสมมูล (Equivalent Circuit) โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ และพัฒนาไปสู่เครื่องมือตรวจวัดประสิทธิภาพมอเตอร์เหนี่ยวนำแบบสามเฟส โดยไม่รบกวนการทำงานแบบพกพา ที่สามารถใช้งานได้สะดวกคล้ายกับการใช้งานเพาเวอร์มิเตอร์ที่ช่างในโรงงานมีความคุ้นเคยการใช้งานอยู่แล้ว และอีกส่วนหนึ่งได้แก่การขยายผลไปสู่โครงการส่งเสริมการใช้งานโปรแกรมประเมินประสิทธิภาพมอเตอร์ไฟฟ้า โดยในปัจจุบันมีมอเตอร์เข้าร่วมโครงการโดยสมัครใจตรวจประเมินมากกว่าร้อยตัวแล้ว ซึ่งการตรวจประเมินประสิทธิภาพของมอเตอร์ที่รวดเร็ว และแม่นยำ จะเป็นประโยชน์ในการจัดทำมาตรการอนุรักษ์พลังงานที่เกี่ยวข้องกับมอเตอร์ให้มีความชัดเจนและเป็นแนวทางที่เป็นที่ยอมรับจากทั้งสามฝ่ายคือผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ และแหล่งทุน อีกทั้งโครงการนี้เป็นการพัฒนาและวิจัยวิธีการและเครื่องมือวัดโดยนักวิจัยไทย ซึ่งเป็นการลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ จากผลการศึกษาวิจัยในโครงการนี้ได้ยืนยันความแม่นยำของการตรวจประเมินโดยนำผลลัพธ์มาเปรียบเทียบกับวิธีการดั้งเดิมคือ วิธีการค่ากำลังไฟฟ้า (Input Power Method) วิธีการค่าไถล (Slip Method) และวิธีการค่ากระแส (Current Method) ดำเนินการทดสอบในห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน IEEE60034 และ IEC-112 ทำการทดสอบกับมอเตอร์เหนี่ยวนำสามเฟส ขนาด 1.5 kW 11 kW และ 30 kW ที่เป็นมอเตอร์ใหม่ มอเตอร์ที่มีอายุการใช้การมากกว่า 5 ปี และมอเตอร์ที่ผ่านการซ่อมบำรุงด้วยการพันขดลวดใหม่ รวม 9 ตัว โดยมีความคลาดเคลื่อนเมื่อทดสอบกับมอเตอร์ที่ใช้ในโครงการที่รับภาระทำงานมากกว่าครึ่งหนึ่งของพิกัดสูงสุด ผลการทดสอบมีค่าความเคลื่อนรากที่สองของกำลังสองเฉลี่ยแล้วต่ำกว่าสองเปอร์เซ็นต์เท่านั้น นอกจากนี้การดำเนินโครงการยังได้ทำการเผยแพร่ข้อมูลผลการศึกษาของโครงการวิจัยสู่สาธารณะ ทั้งยังทำการและรับฟังความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เกี่ยวข้องทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาครัฐ ทำให้ได้รับได้รับความคิดเห็นในการศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญและแนวทางในการพัฒนารูปแบบของโปรแกรมการใช้งานที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ ผลจากการสัมมนาเผยแพร่ ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการพลังงานมีความพึงพอใจต่อเครื่องมือประเมินประสิทธิภาพมอเตอร์และมีความคิดเห็นว่าสามารถใช้รายงานการตรวจวัดและพิสูจน์ผลประหยัดในสัญญาพลังงาน ซึ่งจะมีความสำคัญเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการลงทุนมาตรการอนุรักษ์พลังงานที่เกี่ยวข้องกับมอเตอร์อย่างยิ่ง

การนำผลงานมาใช้ / รางวัล / การตีพิมพ์
รางวัล:
รางวัลประกาศเกียรติคุณ : รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นประจำปีงบประมาณ 2563, สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

การตีพิมพ์:
K. Chayakulkheeree, V. Hengsritawat, and P. Nantivatana, “Particle Swarm Optimization Based Equivalent Circuit Estimation for On-Service Three-Phase Induction Motor Efficiency Assessment” Proceeding of The 39th Electrical Engineering Conference, Hua Hin, Thailand, 2-4 Nov. 2016.
K. Chayakulkheeree, V. Hengsritawatb, and P. Nantivatana, “Particle Swarm Optimization Based Equivalent Circuit Estimation for On-Service Three-Phase Induction Motor Efficiency Assessment,” Engineering Journal, Volume 21 Issue 6, Oct. 2017, pp. 101-110.
K. Chayakulkheeree, V. Hengsritawatb, P. Nantivatana, and P.Kocharoan, “Non-Invasive Equivalent Circuit Method for Three-Phase Induction Motor Efficiency Estimation using Particle Swarm Optimization,” International Energy Journal (IEJ), Volume 20 Issue 2, June 2020, pp. 209-224.

หน่วยงาน
คณะเทคโนโลยีดิจิทัลและคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

ผู้รับผิดชอบ
อาจารย์
ผศ.เพชร นันทิวัฒนา
รศ.ดร.ปรีชา กอเจริญ

เบอร์ติดต่อ
081-4415466

สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา CDTI

 

ระดับปริญญาตรี