สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
Search
Close this search box.
Search
Close this search box.
Play Video

ตู้อบฆ่าเชื้อไวรัสระบบไฮบริดควบคุมผ่าน RFID สำหรับสถานที่สาธารณะและชุมชน

ชมผลงานอื่นๆ ได้ที่ >> นิทรรศการออนไลน์ “CDTI Virtual Exhibition 2020” คลิก <<
นิทรรศการสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม โดยครู อาจารย์ นักเรียนและนักศึกษา สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา

วัตถุประสงค์ / เป้าหมาย
          ลดโอกาสการติดเชื้อและการแพร่กระจายเชื้อไวรัสในชุมชนจากการฆ่าเชี้อไวรัสบนอุปกรณ์ส่วนบุคคล

เนื้อหาโดยสรุป / วิธีการ / ข้อค้นพบ / ผลการศึกษา
          ในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉินของการแพร่ระบาดไวรัส COVID -19 ซึ่งมีปัญหาการติดต่อทางด้านการสัมผัสเชื้อพื้นผิวสิ่งของที่ถูกฝอยละอองจากระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วย เมื่อผู้ป่วยไอหรือจามทำให้เกิดการติดเชื้อระหว่างกัน ซึ่งเชื้อไวรัสดังกล่าวมีชีวิตอยู่ได้นานหลายชั่วโมงไปจนถึงหลายวันขึ้นอยู่กับลักษณะของพื้นผิว อุณหภูมิและความชื้นของสภาวะแวดล้อม หากแหล่งชุมชน สถานที่สาธารณะมีเครื่องฆ่าเชื้อไวรัสบริการ ใช้สำหรับการฆ่าเชื้ออุปกรณ์เครื่องใช้ส่วนบุคคลขนาดเล็กของประชาชนทั่วไป เช่น กุญแจ แว่นตา นาฬิกา รวมถึงเหรียญและธนบัตร ซึ่งหากประชาชนผู้มาใช้บริการสามารถฆ่าเชื่อไวรัสบนอุปกรณ์เครื่องใช้ส่วนบุคคลได้ จะสามารถลดโอกาสการติดเชื้อและการแพร่กระจายเชื้อลงได้ อีกทั้งหากนำมาใช้สำหรับการฆ่าเชื้อหน้ากากอนามัยเพื่อการใช้ซ้ำ จะเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนลงได้ส่วนหนึ่งด้วยตู้อบฆ่าเชื้อไวรัสระบบไฮบริดควบคุมผ่าน RFID สำหรับสถานศึกษาและชุมชน โดยการจัดสรรพื้นที่ของตู้อบฆ่าเชื้อฯ มีกำหนดขนาดและจำนวนช่อง 3 รูปแบบดังนี้
1.การอบฆ่าเชื้อด้วยโอโซน ที่ตู้ขนาด 30 x 30 เซนติเมตร จำนวน 4 ช่อง
2.การอบฆ่าเชื้อด้วยรังสี UV-C ที่ตู้ขนาด 15 x 15 เซนติเมตร จำนวน 4 ช่อง
3.การอบฆ่าเชื้อด้วยความร้อนที่ขนาด 30 x 30 เซนติเมตร จำนวน 4 ช่อง
ในส่วนของความปลอดภัยของผู้ใช้ได้เลือกใช้ระบบ RFID ที่กำหนดรหัสจากคีย์การ์ดเพื่อทำการ  เปิด-ปิดตู้

วิธีการใช้งาน
          การควบคุมสำหรับ 1 ตู้ (มีทั้งหมด 12 ช่อง) ควบคุมด้วย Controller Unit ที่จะทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของระบบฆ่าเชื้อแต่ละชนิดได้แก่ 1) การใช้รังสีอัลตราไวโอเลต หรือรังสียูวี (Ultraviolet radiation, UV) 2) ก๊าซโอโซนในการฆ่าเชื้อโรค และ 3) การใช้ความร้อนช่วง 50 – 60 องศาเซลเซียส มีการกำหนดรหัสจากคีย์การ์ด RFID เพื่อทำการเปิดและปิดตู้สำหรับการนำสิ่งของเข้าสู่ตู้เพื่อทำการกำจัดเชื้อไวรัส การนำอุปกรณ์เครื่องใช้ส่วนบุคคลนำเข้าอบในเครื่องบริเวณที่สาธารณะอาจมีความกังวลเรื่องความปลอดภัยของทรัพย์สินของผู้ใช้บริการ ดังนั้นเครื่องฆ่าเชื้อดังกล่าวจึงต้องมีระบบควบคุมการใช้งานและสิทธิ์ในการเปิดเครื่องเพื่อนำอุปกรณ์ที่ผ่านการฆ่าเชื้อออกมาเฉพาะเจ้าของอุปกรณ์ ซึ่งก็คือ ระบบ RFID สำหรับผู้ที่นำอุปกรณ์ดังกล่าวใส่ในเครื่องเพื่อฆ่าเชื้อเท่านั้น

การนำผลงานมาใช้ / รางวัล / การตีพิมพ์
          รางวัลเหรียญบรอนซ์ งาน Thailand Research Expo 2020 จัดโดยสภาวิจัยแห่งชาติ (วช.)

หน่วยงาน คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

ผู้รับผิดชอบ
อาจารย์
อ.สายัณห์ ฉายวาส
ผศ.กนกวรรณ เรืองศิริ

นักเรียน/นักศึกษา
นายวิชัยเกียรติ รัตนทองคำ   
นางสาวปิยพร หนูตา   
นางสาวอรุณวดี ศิลาเหลือง

เบอร์ติดต่อ
089-8722974

สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา CDTI

 

ระดับปริญญาตรี