สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
Search
Close this search box.
Search
Close this search box.
Play Video

ระบบแสงเล่าเรื่องสำหรับงานนิทรรศการ

สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา CDTI

ชมผลงานอื่นๆ ได้ที่ >> นิทรรศการออนไลน์ “CDTI Virtual Exhibition 2020” คลิก <<
นิทรรศการสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม โดยครู อาจารย์ นักเรียนและนักศึกษา สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา

วัตถุประสงค์ / เป้าหมาย
          แทรกข้อมูลเสริมในงานนิทรรศการ โดยแฝงร่วมกันมากับความสว่างเพื่อใช้ในการเล่าเรื่อง (Story-telling)

เนื้อหาโดยสรุป / วิธีการ / ข้อค้นพบ / ผลการศึกษา
          จากการนำเสนองานนิทรรศการในรูปแบบปกติทั่วไปมีการใช้อุปกรณ์เสริมต่าง ๆ มากมายในการที่จะนำเสนอผลงานในงานนิทรรศการ อาทิ คิวอาร์โค้ด แผ่นป้ายปิดประกาศ เป็นต้น เพื่อมาช่วยเสริมในการนำเสนอข้อมูลซึ่งเมื่อสังเกตจะพบว่าในการสื่อสารนั้นเป็นการนำแสงสว่างที่ใช้อยู่แล้วมาเป็นเสมือนเครื่องมือช่วยในการส่งข้อมูลนำเสนอ โดยสัญญาณข้อมูลเป็นการใช้แหล่งกำเนิดแสงเดียวกันกับที่ใช้ในการส่องสว่างโดยทั่วไป หรืออาจพิจารณาได้ว่าแสงที่ให้ความสว่างในพื้นที่หรือบริเวณต่าง ๆ สามารถแทรกข้อมูลเสริมโดยแฝงร่วมกันมากับความสว่างเพื่อใช้ในการเล่าเรื่อง (Story-telling) ซึ่งเป็นรูปแบบการนำเสนอแบบหนึ่งที่ใช้กระบวนการเล่าเหมือนนิทานหรือเรื่องราวนิยาย เรื่องเล่า ร้อยต่อกัน และสร้างอารมณ์ร่วมให้คนนั้นสนใจ ให้ความตั้งใจและจดจำเรื่องราวเหล่านั้นขึ้นมา ซึ่งเหมาะกับการนำมาประยุกต์ใช้ในการนำเสนอผ่านงานนิทรรศการ ทางคณะผู้จัดทำได้เล็งเห็นถึงความโดดเด่นของเทคโนโลยีที่จะช่วยในการนำเสนอข้อมูลในงานนิทรรศการ งานจัดแสดงต่าง ๆ คณะผู้จัดทำจึงดำเนินการจัดทำระบบแสงเล่าเรื่องให้ใช้งานได้ในงานจัดแสดงนิทรรศการ ซึ่งทางคณะผู้จัดทำได้ดำเนินการจัดทำอุปกรณ์ชุดส่งข้อมูล อุปกรณ์แสดงผลข้อมูล และอุปกรณ์ชุดรับข้อมูลประมวลผลข้อมูล (ซอฟแวร์) ซึ่งเมื่อดำเนินการจัดทำเสร็จเรียบร้อยได้ทดลองนำไปใช้งานในงานจัดแสดงนิทรรศการก้าวย่างสู่ความสำเร็จของนักเทคโนโลยี I คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา ซึ่งในการนำไปใช้งานในครั้งนี้พบปัญหาคืออุปกรณ์ในชุดรับข้อมูลนั้นมีปัญหาในการรับข้อมูลของแสงได้ในองศาที่แคบ ส่งผลให้ในการใช้งานผู้ใช้งานต้องถืออุปกรณ์โดยรับข้อมูลให้ขนานกับอุปกรณ์ชุดส่งข้อมูล ทำให้คณะผู้จัดทำมีความประสงค์พัฒนาในส่วนของวัสดุและชุดอุปกรณ์การรับข้อมูลของอุปกรณ์รับข้อมูลทางแสง ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นและเพื่อให้เหมาะสมกับการนำไปใช้งานในสถานที่การจัดแสดงนิทรรศการต่าง ๆ ที่ต้องการจะใช้อุปกรณ์ระบบแสงเล่าเรื่องสำหรับงานนิทรรศการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้รับความสะดวกในการใช้งาน
          วิธีการใช้งาน อุปกรณ์ฝั่งรับสัญญาณถูกสร้างขึ้นเพื่อการรับสัญญาณแสงจากอุปกรณ์ตัวส่ง และทำการแปลงสัญญาณเป็นข้อมูลรหัสระบุตัวตน จากนั้นส่งข้อมูลรหัสระบุตัวตนที่ถอดออกมาได้ไปยังอุปกรณ์สมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android) เพื่อแสดงผลข้อมูลที่ถูกโปรแกรมไว้ล่วงหน้าตามรหัสระบุตัวตนในฐานข้อมูล อุปกรณ์รับสัญญาณที่สร้างขึ้นและอุปกรณ์รับสัญญาณที่ถูกประกอบลงในเคส เมื่อประกอบอุปกรณ์รับสัญญาณเข้ากับสมาร์ทโฟนทางพอร์ตไมโครยูเอสบี อุปกรณ์ตัวรับจะแสดงผลข้อมูลตัวอักษร ข้อมูลภาพ ข้อมูลเสียง หรือวิดีทัศน์จะสามารถแสดงผ่านทางหน้าจอสมาร์ทโฟนได้ด้วย

การนำผลงานมาใช้ / รางวัล / การตีพิมพ์
          รางวัลชนะเลิศ ระดับอุดมศึกษา กลุ่มการท่องเที่ยว พร้อมเงินรางวัล 70,000 บาท “Thailand New Gen Inventors Award 2020” (I-New Gen Award 2020) จากผลงาน “ระบบแสงเล่าเรื่องสำหรับงานนิทรรศการ” (Story-Telling using Visible Light System for Exhibition) จัดโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) วันที่ 6 ก.พ. 2563

หน่วยงาน คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

ผู้รับผิดชอบ
อาจารย์
รศ.ดร.ปรีชา กอเจริญ

นักเรียน/นักศึกษา
นายปกรณ์ อุตตโมบล
นายกชพัฒน์ เล็กสาลี
นายกฤตเมธ เหล่างาม

เบอร์ติดต่อ
081-2063717

สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา CDTI

 

ระดับปริญญาตรี