สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

พันธุ์พืช คืออะไร

พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 เหตุผลในการประกาศ ใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้คือ เป็นการส่งเสริมให้มีการปรับปรุงพันธุ์และพัฒนาพันธุ์พืช เพื่อให้มีพันธุ์พืชใหม่เพิ่มเติมจากที่มีอยู่เดิม อันเป็นการส่งเสริมการพัฒนาทางด้านเกษตรกรรม โดยการส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจด้วยการให้สิทธิและความคุ้มครองตามกฎหมาย ตลอดจนเพื่อเป็นการอนุรักษ์และพัฒนาการใช้ประโยชน์พันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น พันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป และ พันธุ์พืชป่า เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแล บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์ พันธุ์พืชอย่างยั่งยืน

พระราชบัญญัตินี้ “พืช” หมายความว่า สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรพืชและให้หมายความรวมถึง เห็ดและสาหร่าย แต่ไม่รวมถึงจุลชีพอื่น

“พันธุ์พืช” หมายความว่า กลุ่มของพืชที่มีพันธุกรรมและลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนหรือคล้ายคลึงกันมีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่สม่ำเสมอ คงตัว และแตกต่างจากกลุ่มอื่นในพืชชนิดเดียวกัน และให้หมายความรวมถึง ต้นพืชที่จะขยายพันธุ์ให้ได้กลุ่มของพืชที่มีคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้น โดยพระราชบัญญัติแบ่งพันธุ์พืชออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

  • พันธุ์พืชใหม่ หมายความว่า พันธุ์พืชที่มีลักษณะ และคุณสมบัติที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในพันธุ์นั้น
  • พันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น หมายความว่า พันธุ์พืชที่มีอยู่เฉพาะในชุมชนใดชุมชนหนึ่งภายใน ราชอาณาจักรและไม่เคยจดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่ ซึ่งได้จดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นตามพระราชบัญญัตินี้
  • พันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป หมายความว่า พันธุ์พืชที่กำเนิดภายในประเทศหรือมีอยู่ในประเทศ ซึ่งมีการใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย และให้หมายความรวมถึงพันธุ์พืชที่ไม่ใช่พันธุ์พืชใหม่ พันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น หรือพันธุ์พืชป่า
  • พันธุ์พืชป่า หมายความว่า พันธุ์พืชที่มีหรือเคยมีอยู่ในประเทศตามสภาพธรรมชาติ และยังมิได้นำมาใช้เพาะปลูกอย่างแพร่หลาย

ขอบเขตการคุ้มครอง

การคุ้มครองเชิงทรัพย์สินทางปัญญา : ระบบการรับจดทะเบียน

  • พันธุ์พืชใหม่
  • พันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น

การคุ้มครองเชิงอนุรักษ์ : ระบบควบคุมการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์ ระบบการแจ้งและขออนุญาต

  • พันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป
  • พันธุ์พืชป่า

การจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่

ชนิดพืชที่จดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่สามารถยื่นขอจดทะเบียนคุ้มครองได้จะต้องอยู่ในรายชื่อพืชที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืชประกาศกำหนดเท่านั้น ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 92 รายการ (ณ เดือนพฤศจิกายน 2562) โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อได้ทางเว็บไซต์ของการคุ้มครองพันธุ์พืช

  • มีความใหม่ (Novelty) คือ ไม่มีการนำส่วนขยายพันธุ์มาใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นการขายหรือจำหน่ายด้วยประการใด ทั้งในหรือนอกราชเกินกว่า 1 ปีก่อนวันยื่นจดทะเบียน
  • มีความแตกต่างจากพันธุ์อื่นอย่างชัดเจน (Distinctness)
  • มีความสม่ำเสมอของลักษณะประจำพันธุ์ (Uniformity)
  • มีความคงตัวของลักษณะประจำพันธุ์ (Stability)

การตั้งชื่อพันธุ์พืชใหม่

ชื่อพันธุ์พืช หมายถึง ชื่อพันธุ์ที่ขอจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ ให้ผู้ขอตั้งชื่อเป็นภาษาไทย หากมีชื่อเป็นภาษาอื่นให้ใช้อักษรไทย และชื่อพันธุ์พืช จะต้องไม่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้

(1) เป็นชื่อคล้ายพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย พระปรมาภิไธยย่อหรือพระนามาภิไธยย่อ หรือพระนามพระราชวงศ์
(2) ไม่สุภาพหรือขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
(3) สื่อความหมายไปในทางเกินจริงหรือโอ้อวด
(4) เป็นหรือคล้ายชื่อสามัญ ชื่อชนิด หรือชื่อสกุลของพืช
(5) เป็นหรือคล้ายชื่อพันธุ์พืชอื่นในวงศ์เดียวกันที่มีอยู่ แพร่หลายทั่วไป
(6) เป็นคำสมาสหรือคำสนธิของชื่อพันธุ์ในวงศ์เดียวกัน ที่ไม่ใช่ พ่อ-แม่พันธุ์ของพันธุ์พืชนั้น
(7) มีคำนำหน้า เช่น ศาสตราจารย์ หม่อม พลเอก นาย
(8) อาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิด

หมายเหตุ ไม่ใช้บังคับแก่กรณีที่มีการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติ แก่บุคคล หรือเนื่องในวาระพิเศษต่าง ๆ ในกรณีดังกล่าวให้ผู้ขอพิจารณาตั้งชื่อ ได้ตามความเหมาะสม โดยให้อยู่ในความเห็นชอบของอธิบดีกรมวิชาการเกษตร

คุณสมบัติของผู้รับสิทธิ ต้องเป็นนักปรับปรุงพันธุ์พืช และคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
1. มีสัญชาติไทย หรือนิติบุคคลที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
2. มีสัญชาติของประเทศที่ยินยอมให้บุคคลไทย หรือนิติบุคคล ที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศไทยและขอรับความคุ้มครองในประเทศนั้น
3. มีสัญขาติของประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการคุ้มครองพันธุ์พืชที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย
4. มีภูมิลำเนา หรือประกอบอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรมอย่างจริงจังในประเทศไทย หรือประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการคุ้มครองพันธุ์พืชที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย

สิทธิที่ได้รับจากการจดทะเบียนคุ้มครอง
ผู้ทรงสิทธิในพันธุ์พืชใหม่มีสิทธิแต่เพียงอย่างเดียวในการผลิต ขาย หรือจำหน่ายด้วยประการใด นำเข้า-ส่งออก หรือมีไว้เพื่อกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งส่วนขยายพันธุ์ของพันธุ์พืชใหม่ หากผู้ใดกระทำการดังกล่าวข้างต้นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ทรงสิทธิจะมีโทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เอกสารหลักฐานประกอบคำขอจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่

ผู้ขอจะต้องกรอกข้อความในแบบคำขอให้ครบถ้วน เป็นภาษาไทย พร้อมทั้งลงลายมือชื่อของผู้ขอ หรือลงลายมือชื่อของ ผู้รับมอบอำนาจ ในการยื่นเอกสารหรือหลักฐานประกอบคำขอ หากเป็นภาษาต่างประเทศจะต้องมีคำแปลเป็นภาษาไทย โดยผู้ขอและผู้แปล ต้องลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องทุกหน้า

1)  คำขอจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ (คพ.1) พร้อม

– เอกสารแนบ 1 รายชื่อนักปรับปรุงพันธุ์พืชร่วม (คพ.1/1)
– เอกสารแนบ 2 ที่มา ประวัติและกรรมวิธีปรับปรุงพันธุ์ (คพ.1/2)
– เอกสารแนบ 3 ลักษณะสำคัญของพันธุ์พืชใหม่ (คพ.1/3) ตามชนิดพืช
– ข้อมูลและภาพถ่าย

2) หลักฐานแสดงสิทธิผู้ขอ

– สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัว คนต่างด้าว (ผู้ขอเป็นคนต่างด้าว)
– หนังสือรับรองสัญชาติของผู้ขอจากสถานทูต (กรณีผู้ขอเป็นคนต่างด้าว)
– สำเนาสัญญาจ้างในกรณีที่ผู้ขอเป็นลูกจ้างหรือผู้รับจ้าง

3) หนังสือมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)

4) เอกสารประกอบ กรณียื่นคำขอจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ ไว้นอกราชอาณาจักร (ถ้ามี)

5) หนังสือรับรองการประเมินผลกระทบความปลอดภัย ทางชีวภาพ กรณีเป็นพันธุ์พืชที่ได้จากการตัดต่อสารพันธุกรรม (ถ้ามี)

6) ข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ กรณีเป็นพันธุ์พืชได้มาจากการใช้พันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไปและพันธุ์พืชป่า ในการปรับปรุงพันธุ์ (ถ้ามี)

1) คำขอจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ (คพ.1) พร้อม

– เอกสารแนบ 1 รายชื่อนักปรับปรุงพันธุ์พืชร่วม (คพ.1/1)
– เอกสารแนบ 2 ที่มา ประวัติและกรรมวิธีปรับปรุงพันธุ์ (คพ.1/2)
– เอกสารแนบ 3 ลักษณะสำคัญของพันธุ์พืชใหม่ (คพ.1/3) ตามชนิดพืช
– ข้อมูลและภาพถ่าย

2) หลักฐานแสดงสิทธิผู้ขอ

– หนังสือรับรองนิติบุคคล ที่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ได้รับรองไว้ไม่เกินหกเดือน
– สำเนาใบอนุญาตประกอบธุรกิจหรือใบทะเบียนพาณิชย์ แล้วแต่กรณี และสำเนาใบเสร็จรับเงินภาษีเงินได้ ย้อนหลังอย่างน้อยหนึ่งปี (กรณีผู้ขอเป็นคนต่างด้าว)
– หนังสือรับรองสัญชาติของผู้ขอจากสถานทูต (กรณีผู้ขอเป็นคนต่างด้าว)
– สำเนาสัญญาจ้าง ในกรณีที่ผู้ขอเป็นลูกจ้างหรือผู้รับจ้าง

3) หนังสือมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)

4) เอกสารประกอบ กรณียื่นคำขอจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ ไว้นอกราชอาณาจักร (ถ้ามี)

5) หนังสือรับรองการประเมินผลกระทบความปลอดภัย ทางชีวภาพ กรณีเป็นพันธุ์พืชที่ได้จากการตัดต่อสารพันธุกรรม (ถ้ามี)

6) ข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ กรณีเป็นพันธุ์พืชได้มาจากการใช้พันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไปและพันธุ์พืชป่าในการปรับปรุงพันธุ์ (ถ้ามี)

ขั้นตอน วิธีดำเนินการ การจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่

ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ด้วยตนเอง ตามแบบที่อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกำหนด (คพ.1, คพ.1/1, คพ.1/2 และ คพ.1/3) และแนบเอกสารหลักฐานต่างๆ พร้อมค่าธรรมเนียมคำขอ ฉบับละ 100 บาท

เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอแล้ว จะตรวจสอบคำขอ ในประเด็นความใหม่และตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่างๆ ว่า ถูกต้อง ตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ โดยพิจารณาคำขอตามรายการต่างๆ ข้างต้น และหากปรากฏว่าการตั้งชื่อพันธุ์พืชใหม่ไม่ถูกต้องตามระเบียบ พนักงานเจ้าหน้าที่จะให้ผู้ขอแก้ไขให้ถูกต้องภายในสิบวันนับแต่วันที่ ได้รับแจ้ง

เพื่อจะตรวจสอบพันธุ์พืชที่ขอจดทะเบียนว่ามีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่
มีความแตกต่างจากพันธุ์อื่นอย่างเด่นชัด
มีความสม่ำเสมอของลักษณะประจำพันธุ์
มีความคงตัวของลักษณะประจำพัน

เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบลักษณะพันธุ์พืชเป็นที่ เรียบร้อยแล้ว จะรายงานผลการปลูกตรวจสอบต่ออธิบดีเพื่อให้พิจารณา สั่งประกาศโฆษณาต่อไป

สั่งประกาศโฆษณา ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับรายงาน ในการประกาศโฆษณาคำขอนั้น ให้ไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอทั่วประเทศ และเว็บไซต์ของกรมวิชาการเกษตรเป็นเวลา 90 วัน ซึ่งผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้ชำระค่าใช้จ่ายในการประกาศโฆษณา หากผู้ใดเห็นว่าคำขอจดทะเบียนไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น ไม่ใช่พันธุ์ใหม่ ผู้ขอไม่ใช่ผู้ปรับปรุงพันธุ์ เหล่านี้เป็นต้น ผู้นั้นมีสิทธิคัดค้านได้ สามารถยื่นคัดค้านภายใน 90 วัน นับแต่วันเริ่มประกาศโฆษณา และผู้ยื่นคำขอยื่นคำโต้แย้งภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำคัดค้าน หากไม่มีการคัดค้านหรือมีการคัดค้านแต่ศาลได้วินิจฉัย เป็นที่ยุติแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะรายงานผลการประกาศโฆษณา ต่ออธิบดี หากไม่มีเหตุขัดข้องในการรับจดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่ อธิบดีจะพิจารณาสั่งรับจดทะเบียน

ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียน ต้องมาชำระค่าธรรมเนียมการออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียน พันธุ์พืชใหม่ ฉบับละ 500 บาท ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง เมื่อผู้ยื่นคำขอชำระค่าธรรมเนียมแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะจดทะเบียน และออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับชำระค่าธรรมเนียม เมื่อได้จดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่แล้ว อธิบดีกรมวิชาการเกษตร จะประกาศชื่อพันธุ์พืชใหม่ที่ได้รับการจดทะเบียนในราชกิจจานุเบกษา

อัตราค่าธรรมเนียมสำหรับการคุ้มครองและการจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่

  1. คำขอจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ ฉบับละ 100 บาท
  2. คำคัดค้านการขอจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ ฉบับละ 1๐๐ บาท
  3. หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ ฉบับละ 5๐๐ บาท
  4. ค่าธรรมเนียมรายปีสำหรับการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ ปีละ 1,๐๐๐ บาท
  5. คำขอจดทะเบียนการอนุญาตให้ใช้สิทธิ ฉบับละ 5๐๐ บาท ตามหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่
  6. คำขอจดทะเบียนการโอนสิทธิ ฉบับละ 5๐๐ บาท ตามหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่
  7. ใบแทนหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ ฉบับละ 5๐๐ บาท

ระยะเวลาในการคุ้มครอง

  • 12 ปี สำหรับพืชที่ให้ผลผลิต ไม่เกิน 2 ปี เช่น มะเขือเทศ แตงกวา ดาวเรือง เป็นต้น
  • 17 ปี สำหรับพืชที่ให้ผลผลิต เกินกว่า 2 ปี เช่น มะม่วง ทุเรียน เป็นต้น
  • 27 ปี สำหรับพืชที่ใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้ที่ให้ผลผลิต เกินกว่า 2 ปี เช่น สัก กระถินณรงค์ เป็นต้น

พันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นจะต้องเป็นพันธุ์พืชที่มีอยู่ในเฉพาะในท้องที่ใดท้องที่หนึ่งภายในราชอาณาจักร และต้องมีลักษณะของพันธุ์พืชตามที่กำหนด คือ มีความสม่ำเสมอ ความคงตัว แตกต่างจากพันธุ์อื่น และไม่เคยจดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่

ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นจะต้องเป็นกลุ่มบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วตั้งถิ่นฐานและสืบทอดระบบวัฒนธรรมร่วมกันโดยต่อเนื่อง และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นชุมชนตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ โดยตั้งตัวแทนยื่นคำขอเป็นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดฝนพื้นที่ของตน เมื่อได้รับการขึ้นทะเบียนชุมชนแล้ว และมีพันธุ์พืชตามคุณสมบัติที่เป็นพันธุ์พืชพื้นเมืองเมืองเฉพาะถิ่น ก็สามารถยื่นคำขอจดทะเบียนพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นต่อไปได้

พันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไปและพันธุ์พืชป่า ได้รับความคุ้มครองโดยในฐานะทรัพยากรพันธุกรรมพืชของประเทศ กล่าวคือ ผู้เก็บ จัดหา หรือรวบรวมพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป พันธุ์พืชป่า หรือส่วนหนึ่งส่วนใดเพื่อนำมาปรับปรุงพันธุ์ ศึกษาทดลอง หรือวิจัย เพื่อประโยชน์ในทางการค้า จะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่และทำข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ โดยให้นำเงินรายได้ตามข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ส่งเข้ากองทุนคุ้มครองพันธุ์พืชเพื่อการอนุรักษ์พรือพัฒนาพันธุ์พืช หากไม่ปฏิบัติตามจะมีโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปีและปรับตั้งแต่สองหมื่นถึงสองแสนบาท

หากกระทำทำโดยไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในทางการค้าให้แจ้งต่อกรมวิชาการเกษตร เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับหนังสือแล้วหากถูกต้องครบถ้วนพนักงานเจ้าหน้าที่จะมีหนังสือแจ้งรับทราบ

กองทุนคุ้มครองพันธุ์พืช

พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืชให้จัดตั้งกองทุนคุ้มครองพันธุ์พืชในกระทรวงการเกษตร และสหกรณ์ เงินและทรัพย์สินจะได้มาจากรายได้จากข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ตามมาตรา 52 เงินจากการจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืช เงินอุดหนุนจากรัฐบาลเงินจากที่มีผู้อุทิศให้ และดอกผลที่เกิดจากกองทุนเงินและทรัพย์สินดังกล่าว ใช้ในการช่วยเหลือเกี่ยวกับกิจการใดๆ ของชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ การวิจัย และการพัฒนาพันธุ์พืช เงินและทรัพย์สินที่ได้รับตามข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ ให้จัดสรรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เป็นแหล่งที่นำพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไปมาใช้ประโยชน์