สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

สิทธิบัตร หมายถึง สิทธิพิเศษที่กฎหมายบัญญัติให้แก่เฉพาะเจ้าของสิทธิบัตร หรือที่เรียกว่า ผู้ทรงสิทธิบัตร เพื่อปกป้องการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยเป็นสิทธิผูกขาดสำหรับผู้ทรงสิทธิบัตรที่จะสามารถกันมิให้บุคคลอื่นนำการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ของตนไปแสวงหาประโยชน์ รวมทั้งให้ผู้ทรงสิทธิบัตรมีสิทธิเด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียวในการแสวงหาประโยชน์จากการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสิทธิบัตรนั้นภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ส่งเสริมให้มีการสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น และกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ต่อไป อันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและเป็นที่ยอมรับของสาธารณชน

สิทธิบัตรแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ สิทธิบัตรการประดิษฐ์ และสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดย สิทธิบัตรการประดิษฐ์ จะให้ความคุ้มครองการคิดค้นเกี่ยวกับลักษณะองค์ประกอบ โครงสร้าง หรือกลไกของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิต การเก็บรักษา หรือการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น หรือทำให้เกิด ผลิตภัณฑ์ขึ้นใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม ในขณะที่ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ จะให้ความคุ้มครองความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ที่ แตกต่างไปจากเดิม รวมทั้งองค์ประกอบของลวดลายหรือสีของผลิตภัณฑ์

สิทธิบัตรการประดิษฐ์ คืออะไร

สิทธิบัตรการประดิษฐ์ กฎหมายให้คำนิยามของการประดิษฐ์ว่า หมายถึง การคิดค้นหรือคิดทำขึ้นอันเป็นผลให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีใดขึ้นใหม่ หรือการกระทำใดๆ ที่ทำให้ดีขึ้น ซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธี และกรรมวิธีหมายถึง วิธีการ กระบวนการ หรือกรรมวิธี ในการผลิต หรือการเก็บรักษาให้คงสภาพหรือให้มีคุณภาพดีขึ้น หรือการปรับสภาพให้ดีขึ้น ซึ่งผลิตภัณฑ์ และรวมถึงการใช้กรรมวิธีนั้นด้วย

สิ่งที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายสิทธิบัตรในส่วนของการประดิษฐ์ ต้องเข้าเงื่อนไข 3 ข้อ ดังต่อไปนี้

  1. เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ หมายความว่า ต้องเป็นการประดิษฐ์ที่แตกต่างไปจากเดิม ไม่เป็นที่รู้จัก ไม่เคยมีใช้แพร่หลาย ไม่เคยมีจำหน่าย หรือยังไม่เคยได้รับสิทธิบัตรมาก่อน และยังไม่เคยเปิดเผยสาระสำคัญมาก่อนทั้งในและนอกประเทศ รวมไปถึงการนำสิ่งประดิษฐ์ออกแสดงในงานนิทรรศการต่างๆ
    อย่างไรก็ตาม สำหรับกรณีการนำออกแสดง หากเป็นการแสดงที่หน่วยงานของรัฐ เป็นผู้จัดให้มีขึ้นก็ยังสามารถขอรับความคุ้มครองได้ แต่การยื่นคำขอรับสิทธิบัตรจะต้อง ดำเนินการภายใน 12 เดือน นับตั้งแต่นำงานนั้นออกแสดง และสำหรับกรณีที่เคยยื่นขอรับสิทธิบัตรไว้ในต่างประเทศมาก่อนจะต้องยื่นคำขอ รับสิทธิบัตรในประเทศไทยไม่เกิน 12 เดือน นับตั้งแต่วันที่ได้ยื่นขอรับสิทธิบัตรครั้งแรกใน ต่างประเทศ ทั้งนี้ สามารถที่จะขอให้ระบุว่าวันที่ได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรในต่างประเทศ ครั้งแรกเป็นวันที่ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรในประเทศก็ได้

  2. เป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น หมายความว่า ต้องแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าอย่างเพียงพอในแง่ของความใหม่ล่าสุดก่อนที่จะมีการผลิต มีลักษณะที่เป็นการแก้ไขปัญหา ทางเทคนิคของสิ่งประดิษฐ์ประเภทเดียวกันที่มีมาก่อน และไม่เป็นการประดิษฐ์ที่อาจทำได้โดยง่ายโดยผู้ที่มีความรู้ในระดับธรรมดาสามัญในสาขาวิชาการด้านนั้นๆ

  3. เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในทางอุตสาหกรรม เกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรือหัตถกรรมได้ คือ สิ่งประดิษฐ์ดังกล่าวจะต้องสามารถ ผลิตได้จริงหรือนำไปใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม เกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรือ หัตถกรรมได้ ไม่ว่าจะในรูปของเครื่องมือหรืออุปกรณ์ของผลิตภัณฑ์
  1. จุลชีพและส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มีอยู่ตามธรรมชาติ
  2. กฎเกณฑ์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
  3. ระบบข้อมูลสำหรับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์
  4. การวินิจฉัย บำบัด หรือรักษาโรคมนุษย์หรือสัตว์
  5. การประดิษฐ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดี อนามัยหรือ สวัสดิภาพของประชาชน

อนุสิทธิบัตร คืออะไร

อนุสิทธิบัตร จะให้ความคุ้มครองเฉพาะการประดิษฐ์เท่านั้น โดยการประดิษฐ์ ที่จะได้รับความคุ้มครองนั้นจะเป็นการประดิษฐ์ง่ายๆ มีขั้นตอนการประดิษฐ์ที่ไม่สูงมากนัก หรือเป็นการประดิษฐ์ที่ปรับปรุงสิ่งประดิษฐ์เดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น โดยอนุสิทธิบัตรนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ได้รับความคุ้มครอง ในสิ่งที่สร้างสรรค์นั้นโดยไม่จำเป็นต้องผ่านเกณฑ์ที่เข้มงวดเช่นเดียวกับสิทธิบัตร และสิทธิ ซึ่งเจ้าของอนุสิทธิบัตรได้รับก็มีลักษณะเช่นเดียวกันกับที่ให้แก่เจ้าของสิทธิบัตร

อนุสิทธิบัตรไม่จำเป็นต้อง มีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงนัก โดยเป็นเพียงการปรับปรุงสิ่งประดิษฐ์ที่มีอยู่แล้วให้ใช้งานได้ดีขึ้น หรือมีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น การประดิษฐ์ที่สามารถขอรับอนุสิทธิบัตรได้ จึงประกอบด้วยเงื่อนไขเพียง 2 ข้อ ได้แก่

  1. เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ โดยมีหลักการเช่นเดียวกันกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์
  2. เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในทางอุตสาหกรรม เกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรือหัตถกรรมได้เช่นเดียวกันกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์

อายุความคุ้มครองสิทธิบัตรอนุสิทธิบัตร

  • สิทธิบัตรการประดิษฐ์ มีอายุ 20 ปี นับตั้งแต่วันยื่นขอรับสิทธิบัตร และไม่สามารถต่ออายุการคุ้มครองได้
  • อนุสิทธิบัตร มีอายุ 6 ปี นับตั้งแต่วันยื่นขอรับอนุสิทธิบัตร ต่ออายุได้อีก 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ปี (รวมเป็น 10 ปี)

เอกสารการขอยื่นรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์และอนุสิทธิบัตร

  • แบบพิมพ์คำขอ (สป/สผ/อสป/001-ก)
  • รายละเอียดการประดิษฐ์
  • ข้อถือสิทธิ
  • บทสรุปการประดิษฐ์
  • รูปเขียน (ถ้ามี)

เอกสารประกอบการยื่นคำขอ

การขอแปลงคำขอระหว่างสิทธิบัตรการประดิษฐ์และอนุสิทธิบัตร

เนื่องจากการคุ้มครองสิทธิบัตรการประดิษฐ์และอนุสิทธิบัตรมีความคล้ายกัน โดยเป็นการคุ้มครอง “การประดิษฐ์” ทั้งคู่  ดังนั้น ผู้ประดิษฐ์ต้องเลือกขอรับความคุ้มครอง สิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น จะขอความคุ้มครองทั้งสองอย่างพร้อมกันไม่ได้ ในกรณีที่มีการยื่นขอรับความคุ้มครองอย่างใดอย่างหนึ่งไว้แล้ว หากภายหลังผู้ขอประสงค์จะขอรับความคุ้มครองอีกอย่างหนึ่งก็สามารถขอแปลงคำขอจากสิทธิบัตรการประดิษฐ์เป็นอนุสิทธิบัตรได้ แต่จะต้องดำเนินการก่อนการประกาศโฆษณาตามขั้นตอนการขอรับสิทธิบัตร และในทางกลับกันหากประสงค์จะขอแปลงคำขอจากอนุสิทธิบัตรเป็นสิทธิบัตรการประดิษฐ์ก็สามารถกระทำได้ แต่จะต้องดำเนินการก่อนการรับจดทะเบียนและออกอนุสิทธิบัตรตามขั้นตอนการขอรับอนุสิทธิบัตร โดยไม่จำเป็นต้องยื่นคำขอใหม่ เพียงแต่ยื่นคำขอแปลงประเภทของสิทธิ และเอกสารคำขอรับสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตรที่ได้เคยยื่นไว้ก่อนหน้านี้ พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม แต่กรณี ที่ได้ชำระไว้เกินจะไม่มีสิทธิได้รับคืน

ค่าธรรมเนียม

  • ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์  500  บาท
  • ยื่นคำขอรับอนุสิทธิบัตร  250  บาท
  • ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรออกแบบ  250  บาท
  • คำขอแก้ไขเพิ่มเติม  50  บาท
  • การประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตร  250  บาท
  • รับจดทะเบียนและประกาศโฆษณาอนุสิทธิบัตร  500  บาท
  • คำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ (กรณีการประดิษฐ์)  250  บาท
  • รับจดทะเบียนและออกสิทธิบัตร  500 บาท
  • คำคัดค้าน  250  บาท
  • คำอุทธรณ์  500  บาท
  • คำขอเปลี่ยนแปลงประเภทของสิทธิ  100  บาท
  • ปีที่ 5           1,000 บาท
  • ปีที่ 6           1,200 บาท
  • ปีที่ 7           1,600 บาท
  • ปีที่ 8          2,200 บาท
  • ปีที่ 9          3,000 บาท
  • ปีที่ 10        4,000 บาท
  • ปีที่ 11         5,200 บาท
  • ปีที่ 12        6,600 บาท
  • ปีที่ 13        8,200 บาท
  • ปีที่ 14       10,000 บาท
  • ปีที่ 15       12,000 บาท
  • ปีที่ 16       14,200 บาท
  • ปีที่ 17       16,600 บาท
  • ปีที่ 18       19,200 บาท
  • ปีที่ 19      22,000 บาท
  • ปีที่ 20     25,000 บาท


    หรือชำระทั้งหมดในการชำระค่าธรรมเนียมรายปีครั้งแรก 140,000 บาท

  • ปีที่ 5                   750 บาท
  • ปีที่ 6                 1,500 บาท

    หรือชำระทั้งหมดในการชำระค่าธรรมเนียมรายปีครั้งแรก 2,000 บาท
  • ครั้งที่ 1              6,000 บาท
  • ครั้งที่ 2             9,000 บาท