หลักสูตร/สาขา
- ประเภทวิชาอุตสาหกรรม (ปวช.)
- สาขาที่เปิดสอน
- สาขาวิชาเทคโนโลยีระบบสมองกลฝังตัว
สาขาวิชาเทคโนโลยีระบบสมองกลฝังตัว
Embedded System
สาขางานเทคโนโลยีระบบสมองกลฝังตัว Embedded System
การนำระบบสมองกลฝังตัวมาประยุกต์ใช้ทุกวงการ และมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเราอย่างกว้างขวาง เช่น ยานยนต์ สมาร์ทโฟน เครื่องมือวัดทางการแพทย์ หม้อหุงข้าว เครื่องซักผ้า เตาไมโครเวฟ เครื่องเล่นเกม เป็นต้น ซึ่งนับเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจจากภาคอุตสาหกรรม เพื่อนำมาพัฒนาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ให้ก้าวลํ้ามีคุณภาพมากขึ้น ในอนาคตอันใกล้ประเทศไทยจะก้าวเป็นศูนย์กลางของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เราจำเป็นที่จะต้องพัฒนาประเทศด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆ ดังเช่น ระบบสมองกลฝังตัว ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ สร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์และอุตสาหกรรมของไทย เสริมสร้างคุณภาพชีวิตประชาชน มีเศรษฐกิจที่ยั่งยืน และลดการนำเข้า โดยจะต้องใช้เทคโนโลยีแบบไมโครคอนโทรลเลอร์มิเตอร์อัจฉริยะ (Smart Meter) การสื่อสารข้อมูลแบบเครือข่ายไร้สาย Zigbee การถ่ายโอนข้อมูลแบบ NFC และการควบคุมผ่าน สมาร์ทโฟนในการพัฒนาระบบได้ต่อไป

จุดเด่นของสาขา
เป็นสาขาที่ได้เรียนรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับเทคโนโลยีในอนาคต อุปกรณ์ในสาขาได้รับการสนับสนุนจากสถานประกอบการทางด้านเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ระบบสมองกลฝังตัวชั้นนำของประเทศ จึงได้ศึกษาเรียนรู้กับอุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัย และได้เข้าฝึกทักษะวิชาชีพจากสถานประกอบการที่มีคุณภาพ และสามารถสร้างโอกาสในการมีอาชีพกับหน่วยงานที่มีมาตรฐาน



คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
1. ระดับ ปวช. รับนักเรียนโควตาเรียนดี ที่เรียนจบระดับชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3
2. สัญชาติไทยและมีบัตรประจำตัวประชาชน
3. มีระดับผลการเรียนเฉลี่ยสะสมรวมทุกรายวิชา 5 ภาคเรียน ไม่ต่ำกว่า 2.75
4. มีระดับผลการเรียนเฉลี่ยรายวิชาคณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 2.75
5. มีระดับผลการเรียนเฉลี่ยรายวิชาวิทยาศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 2.75
6. มีความประพฤติเรียบร้อย
7. ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา



โครงสร้างหลักสูตร



สาขานี้เรียนอะไร
เรียนรู้และฝึกฝนทักษะด้านอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้า การออกแบบโครงสร้างและใช้เครื่องมือกลสร้างชิ้นส่วนและอุปกรณ์ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อควบคุมระบบสมองกลฝังตัว การใช้งานแอปพลิเคชันเพื่อควบคุมสั่งการผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารควบคุมแบบไร้สาย การสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่ควบคุมด้วยระบบสมองกลฝังตัว ด้วยกระบวนการทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยเน้นให้มีคุณธรรมในวิชาชีพ ใส่ใจอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และสามารถศึกษาต่อในระดับสูงต่อไปได้



อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
สาขาวิชาเทคโนโลยีระบบสมองกลฝังตัว Embedded System Course
เมื่อจบการศึกษาสามารถเข้าทำงานในสถานประกอบการ หรือองค์กรของรัฐ ในสาขาวิชาระบบสมองกลฝังตัว ซึ่งการเรียนจะเน้นตลาดด้านอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ ซึ่งจะมีมาตรฐานสากลเป็นตัวกำหนดรายละเอียดในแต่ละระดับ ซึ่งกลุ่มประเภทอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องในงานอัตโนมัติจะแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ
1. Process Control เป็นอุตสาหกรรมที่วัตถุดิบจะมีการไหลอย่างต่อเนื่องในระบบและจะมีการทำงานตลอดเวลา อุตสาหกรรมเหล่านี้ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางระบบสมองกลฝังตัว โรงกลั่นน้ำมัน โรงแยกก๊าซ โรงงานปิโตรเคมี โรงงานผลิตปูนซีเมนต์ โรงไฟฟ้า เป็นต้น
2. Manufacturing Process เป็นอุตสาหกรรมที่เน้นไปในลักษณะการประกอบชิ้นส่วน ซึ่งในขั้นตอนการผลิตนั้นอาจจะไม่ต่อเนื่องหรือแยกส่วนกันทำได้ เช่น วิศวกรสมองกลฝังตัว วิศวกรซอฟต์แวร์ในโรงงานประกอบรถยนต์ โรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น
3. Batch Process เป็นอุตสาหกรรมกึ่ง Process Control และ Manufacturing Process โดยที่รูปแบบการผลิตสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามผลิตภัณฑ์ เช่น นักพัฒนาซอฟต์แวร์ ผู้ช่วยนักวิจัยพัฒนาอุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น
- ผู้บริหารงานด้านบันเทิง ทำงานเกี่ยวกับการควบคุมระบบภาพ ระบบเสียง ในสตูดิโอต่างๆ การติดตั้ง ระบบแสงสีเสียง ในงานคอนเสิร์ต และงานพิธีการต่างๆ
- วิศวกรคอมพิวเตอร์ การควบคุมโดรน โดยเป็นงานที่กำลังต้องการผู้มีความชำนาญเฉพาะทางด้านนี้อย่างมาก
- ประกอบกิจการในด้านเทคโนโลยีระบบสมองกลฝังตัวของตนเอง
- งานด้านนักวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อรองรับความต้องการของโลกในอนาคต
- อาจารย์สังกัดหน่วยงานของรัฐและเอกชน
- สามารถศึกษาต่อในระดับการศึกษาที่สูงขึ้นไปได้



เมนูลัด
คณะ / สาขา
ปริญญาตรี
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวส.)
- ประเภทวิชาอุตสาหกรรม
- ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ
- ประเภทวิชาวิชาคหกรรม
- ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
E-service
- ระบบบริการการศึกษา (REG)
- ห้องสมุด (Library Catalogs - OPAC)
- ห้องสมุดดิจิทัล (E-Library)
- webboard
- e-Document
- ระบบแสดงผลออนไลน์ของบุคลากร (HR)
- นิทรรศการออนไลน์ CDTI 2020
ธรรมาภิบาล
- พระราชบัญญัติ/ข้อบังคับ/ระเบียบ/ฯลฯ
- การเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (OIT)
- ช่องทางติดต่อเสนอแนะ/ร้องเรียน
- Q&A
งานพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ติดต่อเรา
- สำนักงานสถาบันฯ
- สำนักวิชาศึกษาทั่วไป
- คณะบริหารธุรกิจ
- คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
- คณะเทคโนโลยีดิจิทัล
- โรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ
เบอร์ติดต่อ
02-280-0551 ( โทรสาร 02-280-0552 )
เวลาทำการ
ทุกวัน จันทร์-ศุกร์ 8.30 น. - 16.30 น.
(ยกเว้น วันหยุดนักขัตฤกษ์)
office@cdti.ac.th


สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา อาคาร 60 พรรษาราชสุดาสมภพ 604 สำนักพระราชวัง สนามเสือป่า ถนนศรีอยุธยา เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทรศัพท์: 02-280-0551 โทรสาร: 02-280-0552