ประวัติสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา

“จิตรลดาแดนสรวง.. เราทั้งปวงร่วมมิตรไมตรี..
มาเถิดมาวันนี้... สำราญเต็มที่เปรมปรีดิ์ฤทัย...”
ใครที่เป็นศิษย์จิตรลดาในรุ่นแรกๆ คงจะจำได้ดีถึงเพลงจิตรลดาเพลงแรกนี้ และ จากนั้น ภาพอันงดงามแห่งความทรงจำรำลึกในความสุขของการได้เป็น “ครอบครัว จิตรลดา” โรงเรียนเล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่ด้วยพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์ บรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชและ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง อบอุ่นด้วย ความรักจาก “ครู” ก็จะรินไหลเข้ามาสู่ความทรงจำที่ให้ความรู้สึกฉ่ำเย็นดุจสายน้ำ...
ประวัติความเป็นมาของสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา

พุทธศักราช 2498
-
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการศึกษาในระดับชั้นอนุบาลขึ้น ณ พระที่นั่งอุดร ในพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต



-
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
ทรงพระอักษรในระดับชั้นอนุบาล

-
ท่านผู้หญิง ดร.ทัศนีย์ บุณยคุปต์ เริ่มเข้าทำงานเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนจิตรลดา เมื่อ พ.ศ. 2498 โดยเป็นพระอาจารย์ท่านแรกที่ถวายพระอักษร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เพียงท่านเดียว

พุทธศักราช 2499
-
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระอักษรในระดับชั้นอนุบาล






พุทธศักราช 2500
-
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ย้ายพระราชฐาน ที่ประทับจากพระที่นั่งอัมพรสถานมาประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิตและได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคารเรียนถาวรในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต พระราชทานนามโรงเรียนว่า "โรงเรียนจิตรลดา"



พุทธศักราช 2501
-
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระอักษรในระดับชั้นอนุบาล
-
โรงเรียนจิตรลดาได้ทำการจดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฏของกระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4





พุทธศักราช 2504
-
สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงพระอักษรในระดับชั้นอนุบาล

-
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ทรงพระอักษรในระดับชั้นอนุบาล
พุทธศักราช 2507
-
โรงเรียนจิตรลดาขยายชั้นเรียนจนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น



พุทธศักราช 2511
-
โรงเรียนจิตรลดาขยายชั้นเรียนจนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย



พุทธศักราช 2526
-
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ทรงดำรงตำแหน่งประธานบริหารโรงเรียนจิตรลดา





พุทธศักราช 2528 - 2551
-
พุทธศักราช 2528 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์
ทรงพระอักษรในระดับชั้นอนุบาล

-
พุทธศักราช 2534 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา
ทรงพระอักษรในระดับชั้นอนุบาล

-
พุทธศักราช 2530 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ
ทรงพระอักษรในระดับชั้นอนุบาล

-
พุทธศักราช 2538 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี
ทรงพระอักษรในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

-
พุทธศักราช 2551 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร
ทรงพระอักษรในระดับชั้นอนุบาล

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ประธานบริหารโรงเรียนจิตรลดา (สายวิชาชีพ)
พุทธศักราช 2547 ก่อตั้งโรงเรียนจิตรลดา (สายวิชาชีพ)
-
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ขยายโอกาสการสอนจากสายสามัญ เพิ่มเป็นสายวิชาชีพ และพระราชทานนามว่า "โรงเรียนจิตรลดา (สายวิชาชีพ)" เปิดการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช).

ตราสัญลักษณ์โรงเรียนจิตรลดา (สายวิชาชีพ)
พุทธศักราช 2550
โรงเรียนจิตรลดา (สายวิชาชีพ)เปิดการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)







พุทธศักราช 2557 สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
-
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขยายการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาขึ้นและพระราชทานนามว่า "สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา" โดยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 โดยมีมูลนิธิสยามบรมราชกุมารี ทรงดำรงตำแหน่ง นายกสภาสถาบันและถือเอาวันคล้ายวันพระราชสมภพคือ วันพุธที่ 2 เมษายน พ.ษ. 2557 เป็นวันสถาบันของสถาบัน เปิดสอนในคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาอิเล็กทรอนิกส์และสาขาไฟฟ้ากำลัง และคณะบริหารธุรกิจ สาขาการตลาด สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และสาขาธุรกิจอาหาร โดยมี ท่านผู้หญิงอังกาบ บุณยัษฐิติ ดำรงตำแหน่งอธิการบดีท่านแรก ขยายโอกาสการสอนจากสายสามัญ เพิ่มเป็นสายวิชาชีพ และพระราชทานนามว่า "โรงเรียนจิตรลดา (สายวิชาชีพ)" เปิดการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช).

เทคโนโลยีจิตรลดา

ท่านผู้หญิงอังกาบ บุณยัษฐิติ

รศ.ดร.คุณหญิง สุมณฑา พรหมบุญ
1 สิงหาคม 2560
รศ. ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ดำรงตำแหน่งอธิการบดีสถาบัน
-
จัดหลักสูตรการเรียนการสอนภายใต้นโยบาย "เรียนคู่งาน งานคู่เรียน" ตอบสนองต่อการผลิตบัณฑิตที่มีสมรรถนะการทำงาน
-
ในปีการศึกษา 2560 คณะบริหารธุรกิจได้ปรับหลักสูตรจากเดิมเป็น "สาขาการจัดการธุรกิจอาหาร" และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมได้ปรับหลักสูตรจากเดิมเป็น "สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์"






สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา ควบรวมกับโรงเรียนจิตรลดา (สายวิชาชีพ)
ภายใต้สถาบันเทคโนโลยีจิตรดา
11 พฤศจิกายน 2561
สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา เปลี่ยนสถานะเป็น "สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา" ตาม พ.ร.บ. สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา พ.ศ. 2561
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2561
-
สถาบันเริ่มเปิดหลักสูตรใหม่ "แบบงานคู่เรียน" ได้แก่หลักสูตร เทคโนโลยีอุตสาหกรรม (ต่อเนื่อง) เพื่อให้คนที่ทำงานแล้วสามารถกลับมาเรียนได้
-
มีหลักสูตรระยะสั้นให้แก่ผู้ทำงานแล้วมาเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์
-
และเปิดห้องปฏิบัติการธุรกิจอาหาร "ร้านปรุงสารพัด" ให้นักศึกษาเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง
"เรียนคู่งาน งานคู่เรียน"
เรียนคู่งาน หมายถึง นักศึกษาเรียน และฝึกทำงานด้วย
งานคู่เรียน หมายถึง ผู้ที่ทำงานกลับมาศึกษา/เรียนรู้ ตลอดชีวิต

พระราชบัญญัติ สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
พุทธศักราช 2561

พระราชบัญญัติ สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
พุทธศักราช 2561

ภาพวาดฝีพระหัตถ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี1